วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

การชงกาแฟ

การชงกาแฟมีหลากหลายวิธี ซึ่งสามารถแบ่งเป็นประเภทตามการให้น้ำกับกากกาแฟ ได้สี่ประเภทหลักๆ การต้มเดือด:กาแฟตุรกี วิธีการดั้งเดิมในการชงกาแฟ ซึ่งยังคงใช้อยู่ในตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ ตุรกี และกรีซ ได้แก่การต้มผงกาแฟละเอียดเข้ากับน้ำในหม้อคอคอด ซึ่งเรียกว่าไอบริก (ibrik) ในภาษาอารบิก, เซสฟ์ (cezve) ในภาษาตุรกี, และเซสวา (dzezva) ในภาษาเซอร์โบ-โครเอเชียน และปล่อยให้เดือดเล็กน้อย บางครั้งก็จะเติมน้ำตาลเข้าไปในหม้อด้วยเพื่อเพิ่มรสหวาน และยังเพิ่มรสและกลิ่นด้วยกระวาน (cardamom) ผลที่ได้คือกาแฟเข้มข้นถ้วยเล็กๆ มีฟองอยู่ข้างบน และกากกาแฟกองหนาเหมือนโคลนอยู่ที่ก้น การใช้ความดัน: เอสเพรสโซ ถูกชงด้วยน้ำเดือดอ้ดความดัน และมักเป็นพื้นฐานนำไปผสมกาแฟหลายๆ ชนิด หรือไม่ก็เสิร์ฟเปล่าๆ ก็ได้ (มักจะเป็นหลังจากมื้อค่ำ) กาแฟชนิดนี้เป็นหนึ่งในประเภทที่แรงที่สุดที่ดื่มกันโดยทั่วไป และมีรสชาติและความมัน (crema) ที่เป็นเอกลักษณ์ เครื่องชงกาแฟแบบใช้น้ำร้อนซึม (หรือหม้อม็อคค่า) มีลักษณะแบ่งออกเป็นสามส่วน โดยส่วนล่างใช้สำหรับต้มน้ำ เพื่อให้ไอลอยขึ้นไปยังกากกาแฟซึ่งอยู่ในส่วนตรงกลาง น้ำกาแฟที่ได้ ซึ่งมักมีความเข้มข้นระดับเดียวกับเอสเพรสโซ จะถูกเก็บอยู่ในส่วนบนสุด ส่วนที่มักวางติดกับเครื่องอุ่นหรือเตา เครื่องบางแบบยังอาจมีฝา 5 แก้วหรือพลาสติกใสเพื่อเอาไว้ดูกาแฟตอนที่มันลอยขึ้นข้างบน การใช้แรงโน้มถ่วง: การชงแบบหยด (หรือแบบกรอง) เป็นการหยดน้ำร้อนผ่านกากกาแฟที่วางอยู่ในที่กรอง (อาจเป็นกระดาษหรือโลหะเจาะรู) ความเข้มขึ้นอยู่กับ สั.ดส่วนระหว่างน้ำกับกาแฟ แต่โดยปกติแล้วจะไม่เข้มข้นเท่าเอสเพรสโซ เครื่องชงกาแฟแบบใช้น้ำร้อนซึมประเภทที่สอง ก็เป็นแบบที่ใช้แรงโน้มถ่วงดึงให้น้ำไหลผ่านกากกาแฟ แต่ให้ความเข้มมากกว่าการจุ่ม:เฟรนช์เพรส (หรือ cafetiere) เป็นกระบอกแก้วที่สูงและแคบ ประกอบด้วยลูกสูบที่มีตัวกรอง กาแฟและน้ำร้อนจะถูกผสมกันในกระบอก (ประมาณ2-3นาที) ก่อนที่ตัวลูกสูบ ซึ่งอยู่ในรูปฟอยล์โลหะ จะถูกกดลง เพื่อให้เหลือแต่น้ำกาแฟอยู่ข้างบนพร้อมเสิร์ฟ ถุงกาแฟ (ลักษณะเดียวกับถุงชา) เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมน้อยกว่าการใช้ถุงชงชามาก เนื่องจากมันมีขนาดใหญ่กว่ามาก (ปริมาณกาแฟที่ต้องใส่เข้าไปในถุงมากกว่าปริมาณชามาก) กาแฟทุกแบบที่ได้กล่าวมานี้ต่างใช้กากกาแฟชงกับน้ำร้อน กาแฟอาจถูกปล่อยค้างอยู่หรือไม่ก็ถูกกรองออกไป แต่ละวิธีต่างต้องการความละเอียดของการบดแตกต่างกันไป

เสาต้นที่ 1 อัตราการชง (brew ratio)
หมายถึง อัตราส่วนของผงกาแฟบดกับน้ำกาแฟที่ชงออกมาได้ เช่น brew ratio ของการชงแบบ drip จากมาตรฐานของสมาคมกาแฟพิเศษแห่งสหรัฐฯ ให้ไว้ที่ กาแฟบดปริมาณ 55 กรัม ต่อน้ำกาแฟที่ชงได้ 1000 กรัม เอา 55 หารด้วย 1000 ทำให้เป็นร้อยละด้วยการคูณ 100 จะได้ brew ratio เท่ากับ 5.5 % เมื่อหันมาชงแบบเอสเปรสโซ หากเราใช้กาแฟ 7 กรัม โดยทั่วไปชงออกมาได้น้ำกาแฟ 14 กรัม หมายถึง brew ratio เท่ากับ 50% เราเข้าใจง่ายๆ นะครับว่า ยิ่ง brew ratio มาก(กาแฟมาก น้ำน้อย) กาแฟก็ยิ่งเข้มข้นนั่นเอง
เสาต้นที่ 2 อุณหภูมิในการชง (brew temperature)
ในที่นี้ผมหมายถึงอุณหภูมิของน้ำที่ใช้สกัดกาแฟ เราสามารถสกัดกาแฟด้วยอุณหภูมิของน้ำต่างๆ กัน ตั้งแต่น้ำที่เย็นเจี๊ยบ จนถึงน้ำที่อุณหภูมิใกล้จุดเดือด อุณหภูมิที่ต่างกันจะสามารถสกัดกาแฟได้ต่างกัน เราอาจชดเชยได้ด้วยเวลาที่ใช้ในการสกัดเช่นหากน้ำอุณหภูมิต่ำอาจต้องใช้เวลาในการสกัดนานกว่า ทั้งนี้ brew temp เป็นอุณหภูมิที่ใช้ตั้งแต่เริ่มสกัดจนการสกัดกาแฟจบสิ้น หรืออาจเรียกว่า เป็น temperature profile ก็ได้ซึ่งโดยทั่วไปมี 3 ลักษณะคือ เริ่มที่อุณหภูมิต่ำแล้วค่อยเพิ่มสูงขึ้น ที่เรียก rising profile หรือ เริ่มที่อุณหภูมิสูงแล้วค่อยลดต่ำลงที่เรียก falling profile และอีกแบบคือรักษาอุณหภูมิเท่ากันตลอดการคั้น ที่เรียกว่า flat profile
เสาต้นที่ 3 อัตราการคั้น (extraction rate หรือ extraction time)
นั่นก็คือ เวลาทั้งหมดที่เราปล่อยให้น้ำอยู่ร่วมกับกาแฟ โดยธรรมชาติหากให้อยู่ด้วยกันนานน้ำก็จะสกัดกาแฟออกมาได้มาก ดังเช่นในกรณีของการสกัดกาแฟด้วยวิธีเอสเปรสโซ extraction time ที่แนะนำโดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 20-30 วินาที ต่อน้ำกาแฟ 25-35 ml
เสาต้นที่ 4 ความหยาบละเอียดของผงกาแฟบด ( grind size)
โดยธรรมชาติอีกเช่นกันครับ ที่กาแฟที่ละเอียดกว่าจะถูกสกัดได้มากกว่า ผงกาแฟที่บดขนาดต่างกันย่อมให้รสชาติกาแฟต่างกันเสมอ และที่สำคัญคือเราต้องไม่บดกาแฟละเอียดจนหลุดรอดตะแกรงที่เราเลือกใช้
เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ สั้นๆ ง่ายๆ แต่ถือเป็นหลักคิดสำคัญที่ตัวผมเองต้องใช้ตลอดเวลา เวลาที่เรายืนอยู่หน้าเครื่องชงกาแฟแบบใดก็แล้วแต่ คงเหมือนคุณบัณฑิตที่กำลังยืนอยู่หน้าวงออเครสต้าที่ต้องควบคุมเสียงอันหลากหลายให้ออกมาสอดประสานคล้องจองเป็นหนึ่งเดียวและน่าฟัง การชงกาแฟเราต้องชดเชยสิ่งต่างๆ ที่กล่าวไปเพื่อให้ออกมาอย่างสมดุลย์กลมกลืน ผมยกตัวอย่างเช่นการชงกาแฟด้วย vac pot ที่เคยเล่าให้ฟังไปแล้ว นั่นก็มีวิธีคิดไม่หนีจากหลักการที่กล่าวไป นั่นคือผมต้องทดลอง หาสัดส่วนของปริมาณกาแฟกับปริมาณน้ำ ผมต้องทดลองบดกาแฟที่ความหยาบละเอียดต่างกัน ผมต้องทดลองเลี้ยงน้ำไว้กับกาแฟในเวลาที่ต่างกัน การทดลองต่างๆ ให้ผลลัพธ์คือรสชาติต่างกันทั้งหมด ผมต้องตัดสินใจว่าจะเลือกแนวทางในการชงอย่างไรจึงจะได้กาแฟที่ตัวผมเองพอใจที่สุด
เสาทั้งสี่ต้นได้ถูกเอาขึ้นไปแล้ว ส่วนหลังคานั้นก็คือทักษะในชิมทดสอบที่ต้องฝึกฝนอย่างหนักเช่นกัน เมื่อได้ฝึกฝนจนชำนาญแล้วจะพบว่าเราสามารถชงกาแฟได้อร่อยขึ้นอย่างน่าแปลกใจ จนบางครั้งก็ดูเหมือนไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย ความสามารถแบบนี้ที่ทางธรรมอาจเรียกว่าเกิด “ปัญญา” หรือ intuition ส่วนตัวผมชอบเรียกความรู้สึกรู้ในการชงกาแฟแบบนี้ว่ามี gut feeling

เมล็ตดพันธุ์

เมล็ดพันธุ์ตำนาน
เมล็ดพันธุ์ตำนานกาแฟเป็นพืชพันธุ์ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานับศตวรรษเป็นพืชป่าที่ขึ้นตามธรรมชาติที่มีผู้ค้นพบโดยบังเอิญต้นกำเนิดของกาแฟไม่เป็นที่กระจ่างชัด มีเรื่องเล่าและตำนานเกี่ยวกับกำเนิดของกาแฟมากมายหลายแบบแต่เรื่องเล่าที่เป็นที่รู้จักและถือเป็นตำนานกาแฟที่เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดคือเรื่องราวของคนเลี้ยงแพะกับอิทธิฤทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ที่ทำให้แพะคึกคัก ว่ากันว่าในราวคริสต์ศตวรรษที่ 14คนเลี้ยงแพะชาวอาบิสซิโนโบราณ หรือดินแดนในประเทศเอธิโอเปีย ในอาฟริกาปัจจุบัน ชื่อ คาลดี้ (KALDI)ได้ค้นพบเมล็ดพันธ์กาแฟโดยบังเอิญ คาลดี้นำแพะออกไปเลี้ยงตามเนินเขา ฝูงแพะได้เข้าไปแทะเล้มลูกไม้สีแดงของต้นไม้ชนิดหนึ่ง เกิดอาการคึกคะนองผิดปกติ เมื่อเขาสังเกตเห็นจึงได้ทดลองชิมลูกไม้นั้นและเกิดและเกิดความกระปรี้กระเปร่ามีกำลังวังชาและเกิดอาการนอนไม่หลับ เขาจึงนำเรื่องนี้ไปเล่าให้นักบวชรูปหนึ่งฟัง นักบวชจึงได้ทดลองนำลูกไม้นั้นไปตากแห้งแล้วนำมาชงน้ำดื่ม ผลที่ได้รับก็ไม่แตกต่างจากคาลดี้คนเลี้ยงแพะเลย ในสมัยโบราณเมล็ดกาแฟถูกนำไปทดลองผสมกับอาหารโดยการผสมลงไปในแป้งทำให้อาหารมีกลิ่นหอมขึ้น จึงทำให้เมล็ดกาแฟกลายเป็นที่รู้จักและนิยมมากขึ้นข่าวคราวเมล็ดพันธุ์มหัศจรรย์นี้แพร่สะพัดล่วงรู้ไปถึงหูชาวมุสลิม ในละแวกใกล้เคียงจากปากต่อปากจากมัสยิดหนึ่งไปยังมัสยิสดหนึ่ง จากชุมชนไปถึงชุมชนจนเป็นที่รู้จักกว้างขวางทั่วไป จึงได้ถือว่าชาวมุสลิมในคราบสมุทรอาราเบียเป็นชนกลุ่มแรกๆที่ได้รู้จักกาแฟและยังทำให้กาแฟเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปยังชนชาติอื่นๆที่สุดกาแฟก็แพร่หลายไปทั่วโลก สู่หมู่เกาะในอินโดนีเซียถึงเอเชียอาคเนย์ อย่างประเทศลาว ประเทศเวียดนาม จนมาถึงประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีการปลูกกาแฟกันทั้งภาคเหนือและภาคใต้หลากหลายพันธุ์กาแฟในโลกนี้กาแฟมีหลายพันธุ์หลายชนิดแต่ที่นิยมปลูกและมีขายกันโดยทั่วไปมีอยู่ 2 พันธุ์คือ อาราบีก้า และ โรบัสต้า ซึ่งกาแฟทั้งสองชนิดมีคุณสมบัติต่างกัน อาราบีกก้า เป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกและบริโภคกันมากที่สุดในโลก มีปริมาณการผสมถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ในตลาดกาแฟโลกแต่มีจำนวน 1 ใน 8 เท่านั้นที่เป็นกาแฟที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานและเป็นที่นิยม กาแฟชนิดนี้ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณสารกาแฟชั้นดี มีกลิ่นและรสชาติดีที่สุดเมล็ดกาแฟอาราบีก้านี้จะมีรูปทรงค่อนข้างเรียวผอม รอยผ่าไส้กลางมีลักษณะคล้ายตัว S เมื่อผ่านกระบวนการผลิตแล้วกาแฟพันธ์นี้จะมีกล่นหอมหวานอบอวล ซับซ้อน คล้ายกลิ่นช็อกโกแลตและดอกไม้รสชาตนุ่มละมุน มีปริมาณคาเฟอีนประมาณ 1.1-1.7 เปอร์เซ็นหรือประมาณครึ่งหนึ่งของพันธุ์โรบัสต้าในสัดส่วนเท่ากันกาแฟอราบิก้าชอบความเย็นเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีในพื้นที่ที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 800-2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล สำหรับในประเทศไทยภูเขาสูงในจังหวัดทางภาคเหนือเช่น เชียงใหม่,เชียงราย,ตาก,ลำปาง จึงเป็เนแหล่งที่ดี ในการปลูกกาแฟพันธุ์อราบิก้า โรบัสต้า เป็นกาแฟพันธุ์ที่ต้องการความชุ่มชื้นสูง ปลูกง่ายให้ปริมาณผลผลิตมาก นิยมปลูกกันมากในทวีปอฟริกาและเอเชียสามาปลูกในพื้นมที่ที่มระดับความสูงตั้งแต่ 500-600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล สำหรับประเทศไทยนิยมปลูกกันทางภาคใต้ เช่นที่จังหวัดชุมพร,สุราษฎร์ธานี,นครศรีธรรมราช เมล็ดพันธุ์ของโรบัสต้าจะอวบอ้วนด้านหลังมีลักษณะนูนเป็นหลังเต่า รอยผ่าไส้กลางเมล็ดมีลักษณะค่อนข้างตรง กาแฟสายพันธ์นี้กลิ่นไม่หอมหวานอบอวล ไม่ซับซ้อน รสชาติฟาดกว่าพันธุ์อราบิก้า และมีปริมาณคาเฟอีนสูงกว่า 1-2 เท่าตัวหรือปริมาณ 2-45 เปอร์เซ็นต์ถึงแม้ว่าจะให้รสชาตด้อยกว่า มีรสฝาดมากกว่า แต่บอดี้ของกาแฟพันธุ์นี้จะมีมากกว่า สามารถรับรู้ได้เวลาดื่ม ส่วนใหญ่จะนำมาผลิตเป็นกาแฟสำเร็จรูป หรือนำมาผสมกับกาแฟพันธุ์อราบิก้า เพื่อได้ให้รสชาติที่แตกต่างออกไป นอกจากนี้ ยังมีพันธ์กาแฟที่อาจพบได้อีก 2 สายพันธุ์ คือ ลิเบอริก้า (Liberica) และเอ็กซ์เซลซ่า (Excelsa) แต่ทั้งสองสายพันธุ์นี้ไม่เป็นที่นิยมในการค้า เนื่องจากรสชาติไม่ค่อยดีนักกาแฟอันหอมกรุ่นในแต่ละถ้วยที่ได้ลิ้มรสกันนั้น หัวใจของรสชาติอยู่ที่ เมล็ดกาแฟ เมล็ดกาแฟเป็นผลผลิตอันทรงคุณค่าที่ในแต่ละปีต้นกาแฟจะสามารถให้ผลผลิตเพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ระยะเวลาตั้งแต่ออกดอกบานสะพรั้งจนกระทั้งเป็นผลกาแฟสุกสีแดงอร่ามไปทั้งต้น กินเวลานานถึง 10 เดือนโดยประมาณ ผลกาแฟสุกสีแดงอร่ามนั้น มักเรียกกันว่า ผลเชอร์รี่กาแฟ ชาวไร่จะเลือกเก็บผลเชอร์รี่เฉพาะผลที่มีสีแดงจัดเท่านั้น แล้วนำมาแปรรูปเป็นเมล็ดกาแฟดิบหรือที่นิยมเรียกกันว่า สารกาแฟ กระบวนการในการแปรรูปจากผลเชอร์รี่มาเป็นสารกาแฟนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ วิธีการแบบเปียก Wet Method และวิธีการแบบแห้ง Dry Methodcวิธีการแบบเปียก หรือ Wet Methodวิธีการแปรรูปแบบเปียกนั้นใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ มีขั้นตอนมากต้นทุนสูง แต่จะได้สารกาแฟที่มีคุณภาพและรสชาติดี นิยมใช้กับกาแฟพันธุ์อราบิก้า กรรมวิธีนี้จะเริ่มต้นจากการนำผลเชอร์รี่ที่เก็บได้มาปลอกเปลือกออก ซึ่งจะต้องทำวันเดียวกันกับที่เก็บผลเชอร์รี่ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผลเชอรร์รี่เน่าเสียก่อน จากนั้นตองทำการกำจัดเมือกที่ติดอยู่ออกไปนำไปแช่น้ำและหมักไว้ประมาณ24-36 ชั่วโมง ก่อนที่จะนำมาล้างด้วยน้ำสะอาด และนำไปตากแดดให้แห้งบนลานซีเมนต์ หรือตากในตะแกรงที่ทำด้วยตาข่ายและยกให้สูงขึ้นจากพื้นดินเพื่อให้ความชื้นระบายออกมากยิ่งขึ้นกว่าเมล็ดกาแฟจะแห้งดีต้องใช้เวลาประมาณ 7 วันกาแฟที่ได้ในขั้นตอนนี้เรียกว่า กาแฟกะลา เนื่องจากยังมีเปลือกแข็งห่อหุ้มเมล็ดกาแฟอยู่ จากนั้นจะต้องนำไปสีเอากะลาออกจึงจะได้เป็นสารกาแฟ หรือเมล็ดกาแฟดิบที่เราเห็นกันทั่วไปวิธีการแบบแห้ง หรือ Dry Methodวิธีการแปรรูปแบบแห้งนั้นง่าย ต้นทุนต่ำ มีความยุ่งยากน้อยกว่าแบบเปียก แต่จะใช้เวลามากกว่า และสารกาแฟที่ได้เปรียบเทียบกับกรมวิธีแบบเปียกแล้วคุณภาพจะด้อยกว่า ขั้นตอนการทำคือ นำผลเชอร์รี่ที่เก็บได้มาตากบนลานในระหว่างวันต้องหมั่นไถกลับด้านเพื่อให้เมล็ดกาแฟแห้งอย่างทั่วถึงซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 15 วันหรือจนกว่าจะแห้งดี เมื่อเมล็ดกาแฟแห้งดีแล้วจะต้องนำไปสีเอาเปลือกแห้งออก จึงจะได้สารกาแฟแบบที่เห็นกัน สารกาแฟที่ผลิตโดยกรรมวิธีนี้จะมีคุณภาพต่ำกว่าสารกาแฟที่ผลิตโดยกรรมวิธีแบบเปียก เพราะในช่วงระหว่างการตากที่ผลเชอร์รี่กาแฟยังไม่แห้งดีนั้นจะเกิดการหมักตัวของเมือกที่อยู่ภายในผลเชอร์รี่ อันมีผลทำให้กลิ่นและรสของสารกาแฟที่ได้ด้อยลง เนื่องจากกาแฟมีคุณสมบัติไวต่อการดูดกลิ่นการตากกาแฟไม่ว่าจะเป็นกรมวิธีแบบเปียกหรือแบบแห้ง จึงไม่ควรตากบนลานดิน เพราะกลิ่นของสารกาแฟที่ผลิตได้ จะมีกลิ่นดินปนอยู่ด้วย ซึ่งมีผลทำให้คุณภาพของสารกาแฟที่ได้ลดลงไป

ประวัตกาแฟ จากถิ่นไปสู่ทวีป1

กาแฟสู่ยุโรป พ่อค้าชาวเวนิสเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ทำการค้ากาแฟกับอาหรับในปี ค . ศ .1615 ซื้อกาแฟจากเมืองมอคค่า (Mocha) นำไปขายในยุโรปเป็นจุดเริ่มต้นการค้าที่สร้างความร่ำรวยให้กับพ่อค้าอาหรับผู้ส่งกาแฟ ต่อมาพ่อค้าชาวดัตช์ นำกาแฟไปเผยแพร่ในอัมสเตอร์ดัมท์ ชาวดัตช์ ได้พยายามศึกษาเก็บข้อมูลต่างๆ ของกาแฟทั้งด้านพฤษศาสตร์ และการค้า ในปี ค . ศ .1616 ต้นกาแฟต้นแรกถูกนำไปยุโรปแล้วขยายพันธุ์ที่สวนพฤษศาสตร์ในเมืองอัมสเตอร์ดัมและนำไปปลูกในเขตประเทศแถบหมู่เกาะอินเดียตะวันออก และชวาในปี ค . ศ .1663 ร้านกาแฟร้านแรกเปิดในอัมสเตอร์ดัมท์ ทำให้ประชาชนทุกชนชั้นมีโอกาสลิ้มรสกาแฟ ร้านกาแฟจะตกแต่งอย่างประณีตสวยงามในบรรยากาศที่สะดวกสบาย
ในอิตาลีปกติชาวอิตาลีนิยมดื่มน้ำผลไม้ และเครื่องดื่มจากพืชต่างๆ ในปี ค . ศ .1625 มีการขายกาแฟในกรุงโรม โดยชาวอิตาลีเห็นว่ากาแฟเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง ค . ศ .1645 ร้านขายกาแฟร้านแรกเกิดขึ้นในเวนิส จนในปี ค . ศ .1690 มีร้านกาแฟมากมายในเวนิส ร้านกาแฟเป็นที่ชุมนุมของชนชั้นสูง และในปี ค . ศ .1720 ร้านกาแฟที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเวนิสคือ ร้านฟลอเรนท์ (Florian) เปิดให้บริการในฝรั่งเศส ปี ค . ศ .1644 มีการส่งเมล็ดกาแฟจากเมืองอเล็กแซนเดรีย สู่เมือง มาแซร์ ค . ศ .1671 ร้านกาแฟร้านแรกจึงเปิดขึ้นที่นี่ ในปี ค . ศ .1672 นายปาสคาล ชาวอามาเนีย เปิดขายกาแฟเป็นครั้งแรกที่ปารีสในงาน Saint Germain fair และได้เปิดร้านขึ้นหลังจากนั้น ในปี 1689 Procopio dei Coltelli ชาวอิตาลีได้เปิดร้านกาแฟที่มีชื่อเสียงขึ้นในกรุงปารีส มีบุคคลที่มีชื่อเสียงทั้งศิลปิน นักการเมือง ฯลฯ นิยมไปดื่มกาแฟที่ร้านนี้กันมาก จนในปี ค . ศ .1690 มีร้านกาแฟในปารีสมากกว่า 300 ร้าน ในสมัยพระเจ้าหลุยที่ 14 กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากจนอาจเรียกได้ว่าเป็นเครื่องดื่มของพระราชา มีคำโฆษณาขายกาแฟว่า “ กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่คั่วและผสมในหม้อทองคำ โดยพระหัตถของพระราชา ”
ในปี ค . ศ .1714 เจ้าเมืองอัมสเตอร์ดัมส์ ได้ส่งต้นกาแฟมาถวายเป็นของขวัญแด่พระเจ้าหลุยที่ 14 และได้นำมาปลูกในสวนพฤษศาสตร์ กรุงปารีส เนื่องจากกาแฟไม่ทนทานต่อความหนาวเย็น จึงมีการสร้างเรือนกระจกเพื่อปลูกกาแฟนับเป็นเรือนกระจกพืชเรือนแรกของโลก ฝรั่งเศสได้พยายามนำกาแฟไปปลูกในดินแดนภายใต้ปกครองเช่นกัน โดยมีการนำการแฟจากเยเมนไปปลูกในเกาะเบอร์บอน (Bourbon) ( ปัจจุบันคือเกาะลารียูเนียน ) เกาะภูเขาไฟเล็กๆ ในมหาสมุทรอินเดีย 800 กิโลเมตรจากเกาะมาดากัสการ์ ตั้งแต่ปี ค . ศ .1708 แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนในปี ค . ศ .1715-1718 มีการนำกาแฟมาปลูกอีกและประสบผลสำเร็จ จนในปี ค . ศ .1817 กาแฟให้ผลผลิตเป็นจำนวน ถึง 1,000 ตัน กาแฟจากเกาะเบอร์บอน เป็นพันธุ์อาราบิก้าที่สำคัญคือชื่อพันธุ์เบอร์บอน (Bourbon) เริ่มต้นจากเกาะแห่งนี้ และได้นำรุ่นลูกหลานไปปลูกในที่อื่นๆ เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก
ในอังกฤษ จากบันทึกของ John Evelyn ค . ศ .1637 กล่าวถึงการดื่มกาแฟของสมาชิก Balliol College ในออกฟอร์ด (Oxford) กาแฟเป็นที่นิยมในหมู่อาจารย์และนักศึกษา เพราะกาแฟช่วยกระตุ้น ให้สามารถอ่านหนังสือในเวลากลางคืนได้นานขึ้น ในปี ค . ศ .1650 จาคอป (Jacob) ชาวเลบานอนตั้งร้านกาแฟร้านแรกขึ้นชื่อ Angle Inn ที่ออกฟอร์ดต่อมามีร้านกาแฟเกิดขึ้นในลอนดอนที่ St Michael's Alley โดยชาวกรีกชื่อ ปาสควาลโรเซ่ (Pasqua Rosee) ร้านกาแฟเป็นสถานที่สำคัญของบุคคลทั่วไป เป็นที่พบปะของนักธุรกิจข้อตกลง การเซ็นต์สัญญา การแลกเปลี่ยนข่าวสารร้านกาแฟเป็นจุดกำเนิดสถาบันหลายอย่างเช่นตลาดหลักทรัยพ์ บริษัทประกัน Baltic และ Lloyds ร้านกาแฟเป็นที่พักผ่อนของบรรดานักเขียน กวี ทนายความ นักปรัชญา นักการเมือง ร้านกาแฟ บางแห่งเก็บค่าธรรมเนียมเข้าใช้บริการอัตราคนละ 1 เพนนี เพื่อให้สามารถถกเถียงให้ความคิดเห็นในด้านการเมืองและวรรณกรรมจนเป็นที่รู้จักในนามมหาวิทยาลัยเพนนี่ภายในร้านมีกล่องทองเหลืองสลักคำว่า To Insure Promptness เพื่อความทันใจ ภายหลังถูกย่อให้สั้นเหลืออักษร ตัวแรกคือทิป (Tip) ในปี ค . ศ .1675 พระเจ้าชาร์ลที่ 2 ประกาศปิดร้านกาแฟ เนื่องจาก ผู้หญิงอังกฤษต่อต้านการดื่มกาแฟ เพราะผู้ชายใช้เวลาและเงินทองหมดไปที่ร้านกาแฟนอกบ้าน หลังจากนั้นไม่นานพวกพ่อค้ารายใหญ่ รายย่อยได้ถวายฎีกาให้ยกเลิกการปิดร้านกาแฟ ทำให้ร้านกาแฟเปิดขึ้นใหม่อีก ในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 บรรยากาศร้านกาแฟมีการเปลี่ยนไป ร้านกาแฟมีการเสริฟเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ลมากขึ้น กลุ่มลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลง นักธุรกิจนิยมดำเนินธุรกิจของตนในสถานที่ทำงานที่เป็นหลักแหล่ง ที่สะดวกปลอดภัยกว่า โรงงานและสถานที่ทำงานจัดให้มีห้องสมุด ทำให้หนังสือพิมพ์และหนังสือต่างๆ สามารถหาได้ง่ายขึ้น ร้านกาแฟจึงเสื่อมความนิยมในเวลาต่อมา
กาแฟสู่อเมริกา ราว ค . ศ .1655 ชาวดัตช์นำกาแฟเข้ามาจากประเทศเนเธอร์แลนด์เข้ามาในอเมริกา แก่ชุมชนชาดัตช์ในนิวอัมสเตอร์ดัม ( นิวยอร์ค ) ช่วงแรกถือว่า เป็นผลิตภัณฑ์ราคาสูง ในปี ค . ศ .1688 มีหลักฐานว่ามีการดื่มกาแฟผสมน้ำตาลหรือน้ำผึ้งและซินเนมอลในนิวอัมสเตอร์ดัมส์ ในปี ค . ศ .1670 โดโรธี โจนส์ (Dorothy Jones) ได้รับอนุญาตขายกาแฟในบอสตัน และมีการเปิดร้านกาแฟขึ้นหลายแห่งในบอสตัน นิวยอร์ค ฯลฯ ร้านกาแฟที่มีชื่อเสียงจะเป็นที่พบปะของบุคคลชั้นสูง นักการเมือง เจ้าหน้าที่อังกฤษ แต่เมื่อเกิดเหตุการ Boston Tea Party จากประท้วงการเก็บภาษี๋ชาต่อรัฐบาลอังกฤษในปี ค . ศ .1767 นับเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามประกาศอิสระภาพของสหรัฐอเมริกาและต่อต้านสินค้าอังกฤษ ชาวอเมริกันปฏิเสธการดื่มชาหันมาดื่มกาแฟแทน ทำให้ชาวอเมริกันกลายเป็นนักดื่มกาแฟ แม้ในสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายเหนือ ฝ่ายใต้ ทหารฝ่ายเหนือต้องมีกาแฟเป็นสเบียงคนละ 8 ปอนด์ โดยมีพ่อค้าชาวฝรั่งเศสและดัทซ์นำเข้ากาแฟ่จากอาณานิคมของตน เช่น ประเทศหมู่เกาะในทะเลคาริเาบียนและคิวบา จนในปัจจุบันสหรัฐอเมริกายังเป็น ผู้นำเข้ากาแฟรายใหญ่ของโลก
กาแฟสู่ลาตินอเมริกาใต้ ในช่วงต้น ค . ศ .1718 มีการนำต้นกาแฟต้นแรกจากเนเธอร์แลนด์ไปปลูกในประเทศสุรินัม ดินแดนในปกครองของดัตช์ เป็นการเริ่มการปลูกกาแฟครั้งแรกทวีปอเมริกา ประมาณปี ค . ศ .1723 นายทหารเรือชาวฝรั่งเศส ชื่อ กาเบรียล แมธธิว เดอคิว (Garbriel Methieu de Clieu) นำต้นกาแฟจากฝรั่งเศสไปยังเกาะมาตินิค (Martinique) ประเทศกิอานากาของฝรั่งเศส การเดินทางเป็นไปด้วยความยากลำบากทั้งพายุ โจรสลัด จนถึงต้องสละนำจืดส่วนตัวรดต้นกาแฟ จนมาถึงจุดหมายปลายทาง ต้นกาแฟจึงให้ผลผลิต ในเวลาต่อมาชาวสเปนได้นำกาแฟเข้าสู่อาณานิคมในหมู่เกาะอินเดียตะวันตก ค . ศ .1748 มีการนำเมล็ดกาแฟจากสาธารณรัฐโดมิกันไปปลูกที่คิวบา ต่อมาหมอสอนศาสนาชาวสเปนนำเมล็ดกาแฟจากคิวบาไปปลูกที่ประเทศกัวเตมาลาและเปอร์เตอริโก ในปี ค . ศ .1779 นำเข้าไปปลูกในประเทศคอสตาริก้า ค . ศ .1783 เริ่มปลูกกาแฟในประเทศเวเนซูเอล่า ที่หมู่บ้านในหุบเขาคอสตาริก้า ค . ศ .1783 เริ่มปลูกกาแฟในประเทศเวเนซูเอล่า ที่หมู่บ้านในหุบเขาคาราคัส (Caracas) ปี ค . ศ .1790 มีการปลูกกาแฟในเม็กซิโก ค . ศ .1825 มีการปลูกกาแฟในฮาวาย
โคลัมเบีย ในปลายศตวรรษที่ 18 มีการเมล็ดกาแฟจากดินแดนปกครองฝรั่งเศส มาปลูกครั้งแรกที่เมือง Cucuta ใกล้ดินแดนประเทศเวเนซูเวล่า พื้นที่ปลูกกาแฟของโคลัมเบียอยู่บนที่สูงตั้งแต่ 800-1900 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ดินเป็นดินภูเขาไฟ อุดมสมบูรณ์ ทำให้กาแฟโคลัมเบียเป็นกาแฟที่มีคุณภาพสูงแห่งหนึ่งของโลก
บราซิล จากดินแดนประเทศกิอานาของดัทช์และฝรั่งเศศ มีการพยายามนำพันธุ์กาแฟมาปลูกในบราซิล แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากทั้งดัทช์และฝรั่งเศสดูแลอย่างเข้มงวด ผู้นำเมล็ดและต้นกาแฟออกไปอาจถูกประหารชีวิตใน ค . ศ .1718 ฟรานซิสโก เดอ เมลโล (Francisco de Melo Palheta) นายทหารชาวบราซิลถูกส่งไปเจรจาเรื่องปัญหาเขตชายแดนกับดัทช์และฝรั่งเศส เขาสามารถเข้าใกล้ชิดและสนิทสนมกับนายกผู้ปกครองกิอานา ฝรั่งเศส เขาได้มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับภรรยาของผู้ปกครอง เมื่อการเจรจาสิ้นสุดลง มีการจัดเลี้ยงภรรยาผู้ปกครองได้มอบช่อดอกไม้ที่มีต้นกาแฟจำนวน 5 ต้น และผลกาแฟจำนวน 30 เมล็ดบรรจุในถุงเล็กๆ ซ่อนอยู่ในช่อดอกไม้ เมื่อกลับมายังบราซิล เขาลาออกจากการเป็นทหารและปลูกกาแฟทำสวนอยู่ริมแม่น้ำ Ubituba จนในปี ค . ศ .1727 กาแฟเริ่มให้ผลผลิต และในปี ค . ศ .1733 กาแฟจำนวน 50 ถุงถูกส่งไปยังโปรตุเกสในระยะแรกกาแฟไม่ค่อยได้รับความสนใจมากเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมน้ำตาลจากอ้อย จนกระทั่งนโปเลียน สนับสนุนการทำน้ำตาลจากหัวบีท ทำให้ความต้องการกาแฟในยุโรปและอเมริกา บราซิลมีพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกกาแฟและยังมีทาสใช้แรงงาน ทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกเป็นสวนขนาดใหญ่ (estate) ขึ้นอย่างมากมายรวดเร็ว ต่อมาเมื่อมีการเลิกทาส เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน ทำให้ผลผลิตลดลงอย่างมาก รัฐบาลบราซิล จึงได้มีการฟื้นฟูโดยสนับสนุนให้ชาวยุโรป เช่น โปรตุเกส เยอรมัน เข้ามาตั้งถิ่นฐานดำเนินการทำสวนกาแฟ โดยมีรัฐบาลช่วยดูแล มีการเปิดพื้นที่ปลูกใหม่ โดยปลูกเป็นสวนขนาดใหญ่อยู่แถบรัฐเซาเปาโลและขยายออกไปทางตะวันตกและทางใต้ของประเทศจนปัจจุบันบราซิลเป็นผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่ที่สุดของโลก
อินเดีย กาแฟเป็นพืชหวงห้ามของชาวอาหรับ ประมาณ ค . ศ .1600 นายบาบา บูดาน (Baba Budan) นักแสวงบุญชาวอินเดียลักลอบนำเมล็ดหรือผลกาแฟจำนวน 7 เมล็ด ซุกซ่อนในเสื้อคลุมจากเมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบียมาปลูกแถบเนินเขาใกล้เมือง Chikmagalur เมืองไมซอร์ (Mysore) ต่อมากาแฟได้แพร่กระจายไปส่วนอื่นๆ ของอินเดีย จนกระทั่งในปี ค . ศ .1823 อังกฤษมีการพัฒนาปลูกกาแฟแบบสวนขนาดใหญ่ (estate) ใกล้ๆ กัลกัตตา ปี ค . ศ .1830 มีการสร้างสวนกาแฟที่เป็นระบบสมบูรณ์แห่งแรกของนาแคนนอน ที่เมือง Chilmuglur ในช่วงเวลาต่อมาสวนกาแฟขนาดใหญ่มีการขยายไปจนถึงทางใต้ของอินเดียแถบไมซอร์ คูนอร์ มัทราส ประมาณ ปี ค . ศ .1900 มีการนำเมล็ดกาแฟพันธุ์โรบัสต้าจากอินโดนีเซียมาปลูกในอินเดีย ปัจจุบันอินเดียมีทั้งผลผลิตกาแฟพันธุ์โรบัสต้าและอาราบิก้า
อินโดนีเซีย ในปี ค . ศ .1696 นิโคลัส วิทเสน ผู้จัดการบริษัทดัชท์อินเดียตะวันออก ได้นำต้นกาแฟจากมาลาบาร์ (Malabar) รัฐเคลาล่า ประเทศอินเดีย ไปปลูกที่เกาะชวา เริ่มปลูกที่ Kedawoeng estate ใกล้ๆ เมืองปัตตาเวีย ( จาร์การ์ต้า ) ในปี ค . ศ .1699 สวนกาแฟประสบความเสียหายเนื่องจากแผ่นดินไหวและน้ำท่วมในปีเดียวกันนี้มีการนำต้นการแฟอาราบิก้าจากมาลาบาร์ของอินเดียมาปลูกอีกครั้ง กาแฟอาราบิก้าจึงได้รับการส่งเสริมพัฒนาขึ้น จนในปี ค . ศ .1711 มีรายงานว่าได้มีการเก็บเกี่ยวกาแฟนำไปขายในตลาดประมูลสินค้าที่เนเธอร์แลนด์ ปี ค . ศ .1880-1899 มีการระบาดของโรคราสนิม ทำให้ไม่สามารถ ที่จะปลูกกาแฟอาราบิก้าให้ได้ผล จึงได้มีการเปลี่ยนพันธุ์กาแฟมาเป็นโรบัสต้า และลิเบอริก้า ในปี ค . ศ .1900 ได้มีการส่งต้นกาแฟโรบัสต้า 150 ต้นจากประเทศเบลเยี่ยมไปเกาะชวา ต่อมากาแฟโรบัสต้ารับการส่งเสริมและขยายการผลิตในอินโดนีเซียจนประสบความสำเร็จ สามารถผลิตและส่งออกไปขายในตลาดโลกได้

วิธีการชงกาแฟแบบตรุกี

การชงกาแฟ
วิธีการชงกาแฟ (Methods of brewing coffee) เป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีผลต่อรสชาติของกาแฟ การต้ม ชงกาแฟ เป็นวิธีการทำให้ผงกาแฟสัมผัสกับน้ำนานพอที่จะขับกลิ่นและรสชาติกาแฟออกมา ทำให้กาแฟมีรสชาติดี การชงกาแฟมีหลายวิธี ดังนี้
การชงแบบตุรกี (Turkish coffee หรือ ibrik) เป็นวิธีที่นิยมในแถบตะวันออกกลาง ใช้ผงกาแฟบดละเอียด น้ำตาลและน้ำ ใส่หม้อต้มเล็กๆ ด้ามยาวที่เรียกว่า Ibrik ต้มจนเดือดทิ้งไว้ให้เย็น แล้วต้มซ้ำอีก 2-3 ครั้ง รินน้ำกาแฟดื่มในถ้วยเล็ก จะได้รสชาติกาแฟและผงกาแฟไปพร้อมๆ กัน
การชงแบบใช้เครื่องชงแบบกรวยกรองหรือแบบหยด (Filter method,Drip maker) เครื่องชงที่อาศัยแรงดึงดูดของโลก เทน้ำร้อนลงบนผงกาแฟผ่านที่กรองกระดาษหรือโลหะลงสู่ถ้วยกาแฟ ผงกาแฟบดชนิดหยาบ
การชงแบบใช้เครื่องชงแบบก้านกด (Coffee Press,French Press) เป็นเครื่องชงที่ให้กาแฟที่มีรสชาติดีที่สุด ใช้กาแฟบดชนิดหยาบ เติมน้ำร้อนลงไป คนให้เข้ากันแล้วทิ้งไว้ 2-4 นาที ค่อยๆ กดแผ่นโลหะแยกกากออกจากน้ำกาแฟ เทน้ำกาแฟเสริฟลงถ้วย เครื่องชงที่ดีจะมีแผ่นกรองที่ละเอียด ทำให้เวลาชงไม่มีกากปนอยู่ในน้ำกาแฟมาก
การชงแบบใช้เครื่องชงแบบสูญญากาศ (Vacuum method) เป็นเครื่องชงกาแฟประกอบด้วยกระบอกแก้ว 2 ชิ้น กระบอกแก้วด้านล่างใส่น้ำเย็น กระบอกแก้วด้านบนใส่ผงกาแฟ ให้ความร้อนจนน้ำเดือด น้ำเดือดจะถูกดันผ่านท่อขึ้นไปสู่กระบอกแก้วด้านบนสัมผัสกันผงกาแฟ นำความร้อนออก คนน้ำกับผงกาแฟให้เข้ากัน ปล่อยให้น้ำกาแฟไหลผ่านตัวกรองผงกาแฟลงมาสู่ด้านล่างนำกระบอกแก้วส่วนบนออก รินน้ำกาแฟใส่ถ้วย
การชงแบบใช้เครื่องชงแบบเอ็สเพรสโซ่ (Espresso) เครื่องชงโดยใช้ความดันอันน้ำร้อน อุณหภูมิ 93-96 องศาเซลเซียส ไหลผ่านกาแฟในเวลาอย่างน้อย 20 วินาที ได้กาแฟดำเข้มเหนียวเป็นยาง รสชาติเข้มข้น เครื่องชงแบบเอ็สเพรสโซ่มีหลายขนาดทั้งขนาดใช้ในครัวเรือนหรือแบบการค้าสามารถชงได้จำนวนมากและมีอุปกรณ์เพิ่มเช่นเครื่องทำฟองนม เป็นต้น

คำว่า แอสเพรสโซ่ (Espresso) เป็นคำในภาษาอิตาเลียน มาจากภาษาลาตินว่า Esprimere แปลว่า กดหรือดัน เป็นกาแฟที่รู้จักกันดี หมายถึง กาแฟดำที่ชงจากกาแฟ โดยผ่านเครื่องชงที่ใช้ความดัน แต่ในความหมายตามมาตรฐานหมายถึง กาแฟเข้มข้นที่ชงจากเมล็ดกาแฟที่คั่วในระดับคั่วปานกลางถึงคั่วแก่ ผ่านการบดอย่างละเอียด ใช้ปริมาณ 7-9 กรัม สกัดด้วยน้ำร้อนภายใต้แรงกดดันระหว่าง 9-10 บาร์ จะได้ปริมาณน้ำกาแฟเข้มข้นปริมาตรระหว่าง 1-1.25 ออนซ์ หรือ 38 มิลลิลิตร ใช้เวลาอยู่ในช่วง 20-30 วินาที เสริฟในถ้วยกาแฟขนาด 60 มิลลิลิตร ที่อุ่นให้ร้อน กาแฟเอสรเพรสโซ่ สามารถนำมาเป็นส่วนผสมหลัก ร่วมกับส่วนผสมอื่นๆ เช่น นม น้ำเชื่อม ฯลฯ ใช้ชงกาแฟชนิดต่างๆ (Espresso Traditional) เช่น คาเฟ่ลาเต้ ใช้กาแฟเอสเพสโซ่ 1 shot กับนมร้อนที่ถูกทำให้ร้อนด้วยแรงดันไอน้ำ
กาแฟเอสเพรสโซ่ Single shot = 1 ออนซ์ oz. ใช้กาแฟ 8 กรัม
กาแฟเอสเพรสโซ่ Double shot = 2 ออนซ์ oz. ใช้กาแฟ 16 กรัม

วิธีการดื่มกาแฟแอสเพรสโซ่ ต้องยกดื่มทีเดียวให้หมด อมไว้ในปากสักครู่ค่อยๆ กลืนโดยไม่ดื่มน้ำตาม กาแฟอาราบิก้าจะรู้สึกถึงรสชาติหวานกลมกล่อมของน้ำตาลคาราเมลที่เคลือบอยู่บนเมล็ดกาแฟคั่ว กาแฟเอสเพรสโซ่จากกาแฟโรบัสต้า จะขมฝาด
สิ่งที่ควรคำนึงในการชงกาแฟคั่วบด
กาแฟควรเป็นกาแฟใหม่ บดละเอียดขนาดเหมาะกับวิธีชง
ใช้น้ำบริสุทธิ์ สะอาด ปราศจากสารเคมีและสิ่งเจือปนต่างๆ
อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการชงกาแฟคือ 94-96 องศาเซลเซียส หรือน้ำเดือดยกลงและปล่อยทิ้งไว้สักครู่น้ำเดือดจัดอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส จะลวกผงกาแฟ ทำให้ส่วนไขมันที่เป็นแหล่งให้กลิ่น รส เสียไปและได้กาแฟรสขม
สัดส่วนที่พอเหมาะระหว่างน้ำกับกาแฟ เช่น เครื่องใช้กระดาษกรองหรือก้านกดสัดส่วนที่เหมาะสมที่สุด คือผงกาแฟ 10 กรัม ต่อน้ำ 180 มิลลิลิตร
บดกาแฟให้ละเอียด - หยาบ เหมาะสมกับเครื่องชง
กาแฟชงแล้ว สามารถทำให้เจือจางได้แต่ไม่สามารถทำให้เข้มข้นขึ้นได้
เสริฟและดื่มหลังชงกาแฟใหม่ๆ จะได้กาแฟที่หอมกรุ่นและรสชาติดี
เครื่องมือเครื่องใช้ แก้วกาแฟ ต้องสะอาด กาแฟจะมีน้ำมันทิ้งคราบไว้ทำให้เกิดกลิ่นอันชื้นได้ คราบสบู่เพียงเล็กน้อยมีผลต่อรสชาติกาแฟในการชงครั้งต่อไป
ไม่ควรนำกาแฟที่ชงไว้นานแล้วมาอุ่นให้ร้อนอีกครั้งหรืออุ่นกาแฟร้อนนานเกิน 40 นาที ควรต้มกาแฟใหม่และต้มในปริมาณที่ต้องการเท่านั้น เพราะกาแฟจะมีรสชาติดีที่สุด
เมล็ดกาแฟคั่วบดที่ใช้แล้ว ไม่กลับนำมาใช้ชงอีก

อาราปิก้า

กาแฟ
แหล่งปลูกที่เหมาะสมสำหรับกาแฟอาราบิก้าคือ พื้นที่ปลูกตั้งแต่เส้นรุ้ง 17 องศาเหนือขึ้นไป มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป มีความลาดเอียงไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ลักษณะดินดินมีความอุดมสมบูรณ์ ชั้นดินลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร มีความเป็นกรดด่าง 5.5 - 6.5 และระบายน้ำดีสภาพภูมิอากาศมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 15 - 25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 60 %แหล่งน้ำอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติ ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปีมีการกระจายของฝน 5 - 8 เดือนมีแหล่งน้ำสะอาดและมีปริมาณพอที่จะให้น้ำได้ตลอดช่วงฤดูแล้งพันธุ์พันธุ์ที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้• เป็นพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคราสนิม• มีลักษณะต้นเตี้ย ข้อสั้น ผลผลิตสูงสม่ำเสมอ• เป็นพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกโดยกรมวิชาการเกษตร คือ สายพันธุ์ คาติมอร์ CIFC 7963รับกล้าพันธุ์ดีได้ที่หน่วยงานกรมวิชาการเกษตรภาคเหนือ• ศูนย์วิจัยเกษตรหลวง จ.เชียงใหม่• ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตเชียงราย(วาวี) อ.แม่สรวย จ.เชียงราย• ศูนย์วิจัยพืชสวนเพชรบูรณ์ (เขาค้อ) อ. เขาค้อ จ. เพชรบูรณ์• ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตตาก (พืชสวนดอยมูเซอ)อ. เมือง จ. ตากการปลูกต้นกล้าอายุตั้งแต่ 8 - 12 เดือน หรือ มีใบจริงไม่น้อยกว่า 4 - 5 คู่• ระยะปลูก 2 x 2 เมตร• ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร• รองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟต อัตรา 100 กรัม/หลุม และปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัม/หลุม• ปลูกภายใต้สภาพร่มเงา โดยใช้ไม้โตเร็วได้แก่ถั่วหูช้าง (Enterolobium cyclocarpum Griseb),พฤกษ์ (Albizia lebbeck Benth.)ถ่อน (A.procera),กางหลวง (A.chinensis),สะตอ (Parikia speciosa Hassk.),เหรียง (P.timoriana)ซิลเวอร์โอ๊ก (Silver. Oak)• สามารถปลูกร่วมกับไม้ผลยืนต้น เช่น บ๊วย ท้อ มะคาเดเมียนัทการดูแลรักษาการตัดแต่งกิ่ง การตัดแต่งแบบต้นเดี่ยวของอินเดีย (Indian single stem pruning) หรือ การตัดแต่งแบบทรงร่ม (Umbrella) เป็นวิธีการที่ใช้กับกาแฟอาราบิก้าที่ปลูกภายใต้สภาพร่มเงา โดยมีขั้นตอน ดังนี้1. เมื่อต้นกาแฟเจริญเติบโตจนมีความสูง 90 เซนติเมตร ตัดยอดให้เหลือความสูงเพียง 75 เซนติเมตร2. เลือกกิ่งแขนงที่ 1 (primary branch) ที่อ่อนแอทิ้ง 1 กิ่ง เพื่อป้องกันยอดฉีกกลาง และต้องคอยตัดยอดที่ จะแตกออกมาจาก โคนกิ่งแขนง ของลำต้นทุกยอดทิ้ง และกิ่งแขนงที่ 1 จะให้ผลผลิต 2 - 3 ปี ก็จะแตกกิ่งแขนงที่ 2(Secondary branch) กิ่งแขนงที่ 3 (terriary branch) และ กิ่งแขนงที่ 4 (quarternary branch) ให้ผลผลิตช่วง 1 - 8 ปี3. เมื่อ ต้นกาแฟให้ผลผลิตลดลง ต้องปล่อยให้มี การแตกยอดออกมาใหม่ 1 ยอดจากโคนของกิ่งแขนงที่ 1 ที่อยู่สูงสุดหรือถัดลงมา และเมื่อยอดสูงไปถึงระดับ 170 ซม. ตัดให้เหลือความสูงเพียง 150 เซนติเมตร ตัดกิ่ง แขนงที่ 1 ที่อยู่สูงสุดให้เหลือเพียง 1 กิ่ง ซึ่งจะสามารถให้ผลผลิตต่อไปอีก 8 -10 ปีการตัดแต่งแบบหลายลำต้น (Multiple stem pruning system)วิธีการนี้ใช้กับต้นกาแฟอาราบิก้าที่ปลูกกลางแจ้ง โดยทำให้เกิด ต้นกาแฟหลายลำต้น จากโคนต้นที่ถูกตัด แต่คัดเลือกเหลือเพียง 2 ลำต้น ซึ่งมีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้1. เมื่อต้นกาแฟสูงถีง 69 เซนติเมตร ให้ตัดยอดให้เหลือ ความสูงเพียง 53 เซนติเมตร เหนือพื้นดินมียอดแตกออกมาจาก ข้อโคนกิ่งแขนงที่ 1 จากคู่ที่อยู่บนสุด 2 ยอด จะต้องตัดกิ่งแขนงที่ 1 ทิ้งทั้ง 2 ข้าง2. ปล่อยให้ยอดทั้ง 2 ยอดเจริญเติบโตขึ้นไปทางด้านบน ในขณะเดียวกันกิ่ง แขนงที่ 1 ที่อยู่ต่ำกว่า ความสูง 53 เซนติเมตร เริ่มให้ผลผลิต3. กิ่ง แขนงที่ 1 ซึ่งอยู่ต่ำกว่าความสูง 53 เซนติเมตร จะถูกตัดทิ้ง หลังจากที่ให้ผลผลิตแล้ว ในขณะเดียว กันกิ่งแขนงที่ 1 ที่อยู่ระดับล่าง ๆ ของลำต้นทั้งสองก็เริ่มให้ผลผลิต4. ต้นกาแฟที่เจริญเป็นลำต้น ใหญ่ 2 ลำต้น จะสามารถให้ ผลผลิตอีก 2 - 4 ปี และขณะเดียวกันก็จะเกิด หน่อขึ้นมา เป็นลำต้นใหม่ อีกบริเวณโคนต้นกาแฟเดิม ให้ปล่อยหน่อที่แตกใหม่เจริญเป็นต้นใหม่ ตัดให้ เหลือเพียง 3 ลำต้น5. ให้ตัดต้นกาแฟเก่าทั้ง 2 ต้นทิ้ง และเลี้ยงหน่อใหม่ ที่เจริญเป็นต้นใหม่ ซึ่งจะสามารถให้ผลผลิตได้อีก 2 - 4 ปี แล้วจึงตัด ต้นเก่าเพื่อให้แตกต้นใหม่อีกการให้น้ำพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมส่วนใหญ่อยู่บนพื้นที่สูงระดับตั้งแต่ 700 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป ซึ่งจะอาศัยน้ำฝน ตามธรรมชาติ ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 1,500 มิลลิเมตร และมีการกระจายของฝนตั้งแต่ 5 - 8 เดือน ในรอบ 1 ปี นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศหนาวเย็น ความชื้นสูง จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องอาศัยระบบการให้น้ำกับต้น กาแฟ นอกจากนี้หากปลูกกาแฟร่วมกับไม้ผลยืนต้น หรือปลูกกาแฟ ภายใต้สภาพร่มเงากับไม้ป่าโตเร็ว รวมถึงการคลุมโคนต้น ก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ปลูกไม่ต้องพึ่งพาระบบชลประทานการคลุมโคนต้นกาแฟการคลุมโคนต้นกาแฟมีประโยชน์มากโดยเฉพาะในช่วงที่สวนกาแฟ ประสบภาวะแห้งแล้ง ซึ่งจะช่วยไม่ให้กาแฟทรุดโทรม หรืออาจถึงตาย เนื่องจากขาดความชื้นในอากาศและในดิน นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันวัชพืช ที่จะเกิดในแปลงกาแฟในขณะที่ทรงพุ่มกาแฟยังไม่ชิดกัน และเป็นการป้องกัน การพังทลายของดินเมื่อเกิด ฝนตกหนัก ข้อควรระวังการคลุมโคน เป็นแหล่ง สะสมของโรคและแมลงศัตรูกาแฟ การคลุมโคนกาแฟ ควรคลุมโคนให้ห่าง จากต้นกาแฟประมาณ 10-20 ซม. เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงศัตรูกาแฟ กัดกระเทาะเปลือกกาแฟ หรือไม่ให้เกิดอันตรายกับโคนต้นกาแฟในระหว่าง ที่วัสดุคลุมโคนเกิดการย่อย สลายได้ โดยคลุมโคนให้กว้าง 1 เมตร และหนาไม่ต่ำกว่า 10 ซม.การให้ปุ๋ยกาแฟเป็นพืชที่ต้องการปุ๋ยค่อนข้างสูง โดยเฉพาะช่วง ระยะเวลาเริ่มออกดอก ติดผลหากขาดปุ๋ยในช่วงระยะ เวลาดังกล่าว ซึ่งเป็นช่วงฤดูแล้งความชื้นในดินและในดอกกาแฟน้อย และอุณหภูมิสูง กาแฟจะแสดงอาการเป็นโรคยอดแห้ง (Die back) ไม่เจริญเติบโต และตายในที่สุดสำหรับธาตุอาหารที่ต้นกาแฟต้องการมีอยู่ 3 กลุ่ม คือo กลุ่มธาตุอาหารหลัก ได้แก่ N P K (Primary nutrients)o กลุ่มธาตุอาหารรอง ได้แก่ Ca Ng S (secondary nutrients)o ธาตุอาหารจุลธาตุ ได้แก่ Fe Mn Zn Cu B Mo และ Clระดับความสูง 700-900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ควรใส่ปุ๋ย ช่วงเดือนพฤษภาคม กรกฎาคม และกันยายนระดับความสูง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ควรใส่ปุ๋ยช่วง เดือนพฤษภาคม สิงหาคม และตุลาคมหมายเหตุ1. ในกรณีที่พืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารหลักหรือธาตุ อาหารรอง ให้ใส่ปุ๋ยที่เป็นธาตุอาหารหลัก เพิ่มขึ้นหรือธาตุอาหารรอง เสริมซึ่งมีทั้งในรูปปุ๋ยเม็ด หรือปุ๋ยเกล็ด ที่ฉีดพ่นทางใบ โดยคำนึง ถึงลักษณะของดินและความชื้นในดินในขณะที่ใส่2. ระยะเวลาในการใส่ปุ๋ยกาแฟอาราบิก้า ขึ้นอยู่กับระดับ ความสูงของสถานที่ปลูก ซึ่งจะมีผลต่ออายุการเก็บเกี่ยวการเก็บเกี่ยวมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อคุณภาพของกาแฟ ได้แก่ เนื้อสารกาแฟ (Body) รสชาติ (Flavour) ความเป็นกรด (Acidity) และมีกลิ่นหอม (Aroma) หากเก็บผลที่ยังไม่สุก และช่วงเวลาในการเก็บไม่เหมาะสม นอกจากจะมีผลต่อคุณภาพ และรสชาติแล้ว ยังมีผลทำให้ต้นทุนการผลิต (ค่าแรงงาน) เพิ่มขึ้นอายุการเก็บเกี่ยวผลกาแฟในแต่ละสภาพพื้นที่ปลูกไม่พร้อมกัน• ระดับความสูง 700-900 เมตรจากระดับน้ำทะเล• อายุการเก็บเกี่ยว (ตั้งแต่ติดผล-ผลสุก) ประมาณ 6 เดือน• ระดับความสูง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล• อายุการเก็บเกี่ยว (ตั้งแต่ติดผล-ผลสุก) ประมาณ 9 เดือนวิธีการเก็บเกี่ยวการเก็บทีละผลหรือทั้งช่อ โดยเก็บเฉพาะผลที่สุกในแต่ละช่อ หรือเก็บทั้งช่อก็ได้ หากผลสุกพร้อมกัน เป็นวิธีการที่จะสามารถควบคุม คุณภาพของกาแฟได้ดีที่สุดดัชนีการเก็บเกี่ยว• ควรเก็บผลที่สุก 90-100 เปอร์เซ็นต์ คือ เมื่อผลมีสีแดงเกือบทั้งผล หรือทั่วทั้งผลหรือผลมีสีเหลืองเกือบทั้งผลหรือทั่วทั้งผล (บางสายพันธุ์ ผลสุกจะเป็นสีเหลือง)• การทดสอบผลสุกพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว โดยการปลิดผลกาแฟ แล้วใช้นิ้วบีบผล ถ้าผลสุกเปลือกจะแตกง่ายและเมล็ดกาแฟจะโผล่ออกมา• การเก็บผลควรจะพิจารณาการสุกของผลบนแต่ละกิ่ง ที่ให้ผลในแต่ละต้น ว่ามีผลสุกมากกว่าร้อยละ 50 ในการเก็บผลผลิตครั้งแรก ซึ่งปกติการเก็บ ผลกาแฟจะต้องใช้เวลาเก็บประมาณ 2-4 ครั้ง
แมลงและการป้องกันกำจัดเพลี้ยหอยสีเขียว(Green scale) Coccus viridis Green (Homoptera : Coccidae)เพลี้ยหอยสีเขียวเป็นศัตรูที่สำคัญที่สุด ในกลุ่มแมลงปากดูด ขนาดเล็กด้วยกันทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย เข้าทำลาย โดยการดูดกิน น้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน ใบอ่อน เป็นเหตุให้ยอดและใบหงิกงอผิดปกติ ใบร่วง ต้นกาแฟชะงักการเจริญเติบโต ถ้าระบาดขณะกาแฟกำลังติดผล ทำให้ผลอ่อนมีขนาดเล็กลง เมล็ดลีบและผลร่วง ผลผลิตเล็กลง ต้นกาแฟจะโทรมนาน นอกจากนี้ เพลี้ยหอยสีเขียวยังขับถ่ายน้ำหวาน (honey dew) ขึ้นคลุมผิวใบ เป็นผลให้พื้นที่ในการสังเคราะห์แสงลดลง และทำให้ต้นกาแฟชะงักการเจริญเติบโตการป้องกันกำจัดใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงประเภทดูดซึม โดยใช้คาร์โบ ซัลแฟน(พอสซ์ 20 % EC) ใช้ในอัตรา 40 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตรหนอนเจาะลำต้นกาแฟ Xylotrechus quadripes Cherrolat (Coleoptera : Cerambycidae)หนอนเจาะลำต้นกาแฟเป็นแมลงที่มีความสำคัญ ที่ทำความเสียหาย ต่อต้นกาแฟอาราบิก้าอย่างรุนแรง พื้นที่ซึ่งพบการทำลายสูงสุดร้อยละ 95 และส่วนใหญ่เป็นกาแฟที่ปลูกในสภาพกลางแจ้งร้อยละ 80 ส่วนกาแฟที่ ปลูกในสภาพภายใต้ร่มเงา และปลูกในพื้นที่ระดับต่ำจะพบน้อย โดยเฉพาะ กาแฟที่มีอายุมากกว่า 5 ปี ขึ้นไป ต้นกาแฟที่ถูกหนอนเจาะต้นกาแฟ เข้าทำลายจะแสดงอาการใบเหลือง เหี่ยว และยืนต้นแห้งตายในที่สุด โดยจะพบร่องรอยการควั่นของหนอนเจาะลำต้นกาแฟตั้งแต่บริเวณโคนต้น ขึ้นมาจนถึงกึ่งกลางต้น ทั้งนี้เมื่อฟักออกจากไข่ ก็จะกัดกินเนื้อไม้ โดยควั่น ไปรอบต้นและเจาะเข้าไปกินภายในการป้องกันกำจัดควรจะกระทำช่วงระยะที่เป็นตัวเต็มวัยก่อนผสมพันธุ์และวางไข ่รวมทั้งการทำลายไข่หรือหนอนระยะแรกที่ฟักออกจากไข่ ก่อนที่จะ เจาะเข้าไปในลำต้นหรือกิ่งจะเป็นการป้องกันกำจัดที่ดีที่สุด เมื่อพบการระบาดควรฉีดพ่นสารฆ่าแมลง เฟนิโตรไธออน (ซูมิไธออน 50 % EC) อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ในช่วงเดือนพฤษภาคม- กรกฎาคม และ พฤศจิกายน-มกราคมหนอนกาแฟสีแดง Zeuzera coffeae Nietner (Lepidoptera : Cossidae)หนอนเจาะกินเนื้อเยื่อภายในลำต้นทำให้ยอดแห้งเหี่ยวตาย ตั้งแต่ยอดลงมาจนถึงบริเวณที่ถูกเจาะ และ เมื่อลมพัดก็ทำให้กิ่งหักล้ม ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกสีขาว มีจุดดำประเต็มปีก วางไข่บริเวณเปลือก ลำต้นหรือกิ่งกาแฟ ไข่สีเหลือง ตัวเมีย 1 ตัว วางไข่ได้ประมาณ 300 - 500 ฟอง ระยะไข่ประมาณ 7 - 10 วัน จึงฟักออก เป็นตัวหนอนแล้ว เจาะเข้าสู่กิ่งหรือลำต้น กัดกินเนื้อเยื่อเป็นโพรงเล็ก ๆ ตามความยาวของกิ่ง และลำต้นกาแฟ ขณะเดียวกันก็จะกัดกิ่งและลำต้นกาแฟเป็นรู เล็ก ๆ เพื่อเป็นช่องให้มูลของหนอนออกมา จากกิ่งและลำต้น ระยะหนอนประมาณ 2.5 - 5 เดือน ระยะดักแด้ 2-3 สัปดาห์ ในรอบปีหนึ่งจะพบประมาณ 2 ชั่วอายุขัย เมื่อพบร่อง รอยการทำลายให้ตัดกิ่งหรือต้นที่ถูกทำลายไปเผาทิ้งการป้องกันกำจัดทำลายพืชอาศัยอื่น ๆ ในบริเวณรอบ ๆ สวนกาแฟ เพื่อไม่ให้เป็น ที่อยู่อาศัยขยายพันธุ์รักษาบริเวณให้สะอาด และหมั่นตรวจดูตามต้นและกิ่งกาแฟอยู่เสมอหากพบรอยที่หนอนเจาะเข้าทำลายให้ ตัดกิ่ง นำไปเผาไฟ เพื่อลดการขยายพันธุ์ต่อไป ในพื้นที่ ๆ พบการระบาดสูงใช้สารเคมีฆ่าแมลงเฟนิโตร ไธออน อัตรา 80 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร ทำด้วยแปลงทาสีบริเวณลำต้นกาแฟให้ทั่ว (ถ้าใช้ฉีดพ่นใช้อัตรา 40 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร ) ในช่วงที่พบตัวเต็มวัยสูงในเดือนเมษายน มิถุนายน และกันยายน และกำจัดต้นกาแฟที่ถูกหนอนเจาะลำต้นเข้าทำลาย ทันที เมื่อตรวจพบโดยการตัดแล้วเผาทิ้ง นอกจากนี้ควรปลูกไม้บังร่ม จะช่วยลดการเข้าทำลายของหนอนได้โรคและการป้องกันกำจัดโรคราสนิม (Coffee leaf rust)เกิดจากเชื้อรา Helmileia vastatrix ทำความเสียหายร้ายแรงแก่กาแฟอาราบิก้ามานานกว่าร้อยปีลักษณะอาการของโรคโรคราสนิมสามารถเกิดกับใบกาแฟอาราบิก้า ทั้งใบแก่และใบอ่อน ระยะต้นกล้าในเรือนเพาะชำ และต้นโตในแปลง อาการครั้งแรก จะเห็นเป็นจุดสีเหลืองเล็ก ๆ ขนาด 3 - 4 มิลลิเมตร ด้านในของใบ มักจะเกิดกับใบแก่ก่อน จุดสีเหลืองบนใบขยายโตขึ้นเรื่อย ๆ สีของแผลจะ เปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีส้ม หรือส้มแก่ เมื่ออายุมากขึ้น บนแผลจะมีผงสีส้ม ซึ่งเป็นยูรีโดสปอร์ของเชื้อรา ด้านบนของใบซึ่งอยู่ตรงข้ามกับจุดที่เป็นโรค จากนั้น ใบกาแฟอาราบิก้าจะร่วง ต้นโกร๋น กิ่งแห้งในเวลาต่อมา ต้นที่เป็น โรครุนแรงใบจะร่วงเกือบหมดต้นการป้องกันกำจัดมีสารป้องกันกำจัดเชื้อราหลายชนิดที่มีประสิทธิภาพใน การป้องกันและกำจัดโรคราสนิมได้ เช่น บอร์โดซ์มิกซ์เจอร์ (alkaline bordeaux mixture) 0.5%,คูปราวิท (cupravit) 85% W.P. อัตรา 50 กรัม น้ำ 20 ลิตรใช้พันธุ์กาแฟที่ต้านทานต่อโรคราสนิม ได้แก่ กาแฟอาราบิก้า พันธุ์คาติมอร์ CIFC 7960, พันธุ์คาติมอร์ CIFC 7961, พันธุ์คาร์ติมอร์ CIFC 7962 และ พันธุ์คาติมอร์ CIFC 7963โรคเน่าดำ (black rot)โรคเน่าดำของกาแฟสาเหตุจากเชื้อรา Koleroga noxia เป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งของกาแฟอาราบิก้า ที่ปลูกภายใต้ ร่มเงาค่อนข้างหนาทึบ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับ เกิดโรคนี้มักจะเป็นในฤดูฝน ในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันหลายวันโดยไม่หยุด ประกอบกับแปลงกาแฟที่มีร่มเงาค่อนข้างทึบ แดดส่องไม่ถึง ส่วนต้นกาแฟที่ปลูกกลางแจ้งไม่พบโรคนี้ระบาดลักษณะอาการของโรคอาการของโรคจะแสดงออกที่ใบ กิ่ง และผล ที่กำลังพัฒนาในช่วงฝนตกซุก ในเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม ในระยะเริ่มแรกใบจะเน่ามีสีดำก่อน แล้วลุกลามไปยังกิ่งและผล กำลังเจริญเติบโต เมื่อใบกาแฟแห้งตาย ในปลายฝนจะมีเส้นใยของเชื้อรา เส้นใหญ่ ๆ เจริญบนผิวใบกาแฟ เส้นใยเหล่านี้จะดึงให้ใบกาแฟติดอยู่กับกิ่ง โดยไม่ร่วงหล่นจากต้น สำหรับผลกาแฟที่กำลังเจริญเติบโตมีสีเขียว ก็จะกลายเป็นสีดำและร่วง และเมื่ออากาศแห้งเห็นเส้นใยสีขาวปกคลุม ก้านผลกาแฟคล้ายใยแมงมุมสีขาว การเน่าของใบกาแฟอาจลุกลาม เข้าสู่ตรงกลางของพุ่มกาแฟการป้องกันกำจัดo ตัดกิ่งที่เป็นโรคออกและเผาไฟ เพื่อทำลายแหล่ง แพร่ระบาดของเชื้อo ควรคัดเปลงระบบการตัดแต่งกิ่งต้นกาแฟให้ตรงกลาง พุ่มโปร่ง ลมจะได้พัดผ่านสะดวก เพื่อลด ความชื้นในทรงพุ่ม เช่น ระบบตัดแต่งกิ่งต้นเดี่ยวของประเทศ โคลัมเบียหรืออินเดียo ควรตัดแต่งไม้บังร่มให้โปร่งมาก ๆ ในต้นฤดูฝนo อาจใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช พวกสารประกอบ ทองแดงฉีดพ่นเมื่อพบโรคนี้ระบาด 1 - 2 ครั้งโรคเน่าคอดิน (Collar rot หรือ damping off)โรคเน่าคอดินสาเหตุจากเชื้อราRhizoctonia solani โรคนี้เกิดในระยะกล้าอายุ 1 - 3 เดือนในแปลง เพาะชำ สาเหตุของการเกิดโรคและความรุนแรงของโรคอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ลักษณะของแปลงเพาะกล้ามีการระบายน้ำไม่สะดวก เพาะเมล็ดซ้ำใน แปลงเดิมติดต่อกันหลายครั้ง ติดต่อกันโดยไม่เปลี่ยนวัสดุใหม่ หลังคาเรือนเพาะชำอาจทึบเกินไป ปริมาณของกล้าที่งอกออกมาหนาแน่น เกินไป และประการสำคัญสภาพอากาศในช่วงที่กล้างอก มีความชื้นสูง สลับกับอากาศร้อนลักษณะอาการของโรคอาการของโรคเน่าคอดินมีอยู่ 2 ระยะคือระยะแรก การเน่าของเมล็ดก่อนงอก คัพภะ (embryo) และเอนโดสเปิร์ม (endosperm) จะถูกเชื้อราซึ่งอยู่ในดินเข้าทำลาย เมล็ดเน่าและแตกออกระยะที่สอง การเน่าหลังจากกล้ากาแฟงอกออกจากเมล็ด โผล่ขึ้นมาเหนือดินแล้ว เชื้อราอาจเข้าทำลายตรงโคนที่อยู่เหนือดิน หรือระดับผิวดินจะมีแผลสีน้ำตาลในระยะแรก ต่อมาจะเน่ากลายเป็นสีดำ ในที่สุดกล้าก็เหี่ยวและตาย เชื้อรา R.solani สามารถเข้า ทำลายกล้ากาแฟได้ทุกระยะหลังจากงอกขึ้นมาเหนือดิน ตั้งแต่หัวไม้ขีด ซึ่งใบเลี้ยงคู่ยังไม่หลุดออกจากเมล็ดกาแฟ ระยะปีกผีเสื้อ ซึ่งใบเลี้ยงคู่หลุดออกจากเมล็ดเป็นปีกผีเสื้อ และระยะที่กล้ากาแฟมีใบจริง 1 - 2 คู่ ในกรณีที่ยังอยู่ในแปลงไม่ได้ย้ายลงถุงการป้องกันกำจัดo หน้าดิน (top soil) หรือวัสดุเพาะอื่น ๆ ควรจะเป็น ของใหม่ ไม่ควรนำของเก่ามาเพาะซ้ำ เพราะอาจมีเชื้อราสะสมอยู่ใน ปริมาณมากเกินไปo ไม่ควรให้น้ำแปลงเพาะมากเกินไปในแต่ละครั้ง ซึ่งอาจทำให้น้ำท่วมขังในแปลงได้ ระบบการ ระบายน้ำในแปลงควรจะดีo การเพาะเมล็ดในแปลง ควรให้มีระยะห่างพอสมควร มิฉะนั้นเมื่อกล้างอกออกมาหนาแน่น จะต้องถอนทิ้งทีหลังo กล้าที่เป็นโรคเน่าคอดิน ควรถอนทิ้งและเผาไฟ หลังจากนั้นจึงควรพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซบ (Mancozeb)โรครากเน่าแห้ง (Fusarium root disease)โรครากเน่าแห้งสาเหตุจากเชื้อรา Fusarium spp. ทำความเสียหายร้ายแรงแก่กาแฟอาราบิก้ามากกว่ากาแฟโรบัสต้า ทำให้ต้นตายภายในเวลาอันสั้น โรคนี้จะรุนแรงในสภาพพื้นที ่อุณหภูมิแตกต่างกันมากระหว่างอุณหภูมิสูงสุดและอุณหภูมิต่ำสุด อุณหภูมิของดินแตกต่างกันมากดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์แปลงกาแฟที่ปลูกกลางแจ้งและราก หรือโคนต้นที่อยู่ ใต้ผิวดินเกิดแผล เชื้อราก็เข้าทางแผลนั้น จากการตรวจสอบต้นที่เป็นโรครากเน่าพบว่า มีต้นกาแฟจำนวนมาก ที่มีแผลที่เกิดจาก หนอนเจาะโคนหรือควั่นโคนร่วมอยู่ด้วยลักษณะอาการของโรคต้นกาแฟมีใบเหลืองและเหี่ยว ต่อมาใบจะร่วง กิ่งที่อยู่เหนือดินแห้งตาย เมื่อถอนต้นกาแฟจากดิน จะขึ้นมาง่ายมาก เพราะรากเน่าและแห้งตาย เมื่อปาดเปลือกของรากและโคนต้นกาแฟที่อยู่ใต้ดินจะมีสีน้ำตาล น้ำตาลเทา รากส่วนใหญ่จะแห้งการป้องกันและกำจัดโรคo ถอนต้นกาแฟที่เป็นโรคเน่าแห้งเผาไฟ เพื่อทำลาย แหล่งเพาะเชื้อo โรครากเน่าแห้งจะรุนแรงในสภาพการปลูกกาแฟ กลางแจ้งนั้น ดังนั้น ควรปลูกไม้บังร่มให้กาแฟอาราบิก้าในแหล่งที่มี โรครากเน่าแห้งระบาดo เอกสารต่างประเทศได้แนะนำให้ใส่ปูนขาวลงไปในดิน ในกรณีพบโรครากเน่าแห้งและทดสอบ pH ของดินพบว่าต่ำกว่า 5.5โรคใบจุดตากบ (Brown eye spot)โรคใบจุดตากบ มีสาเหตุจากเชื้อรา Cercospora coffeicola. เป็นโรคที่พบระบาดแพร่หลายทั่วไป ทั้งกับกาแฟอาราบิก้าและกาแฟโรบัสต้า ระบาดมากในระยะกล้า ที่ปลูกในเรือนเพาะชำ ขาดการดูแลรักษาที่ถูกต้อง เมื่อนำกล้าที่ เป็นโรคนี้ไปปลูกในแปลง หากขาดการบังร่มให้แก่ต้นปลูกใหม่ในระยะแรก โรคใบจุดตากบก็จะทำความเสียหายกับใบรุนแรง จะพบใบที่เป็นโรคร่วง บ่อยครั้งที่พบต้นกาแฟ เป็นโรคใบจุดตากบภายใต้ร่มเงาที่ไม่เหมาะสม โรคนี้อาจพบได้ทุกฤดู แต่จะพบมากในฤดูแล้งลักษณะอาการของโรคใบกาแฟจะเห็นจุดกลม ๆ ขนาด 3 - 15 มิลลิเมตร จะมีสีน้ำตาล ระยะเริ่มแรก ต่่อมาจุดนี้จะกลายเป็นสีเทาหรือเทาอ่อนไปกระทั่งถึงสีขาวตรง จุดกึ่งกลางของแผล ขอบแผลจะมีสีน้ำตาลแดง และจะล้อมรอบไว้โดย วงสีเหลือง ส่วนตรงกลางของแผลที่มีสีเทาจะเห็นจุดเล็ก ๆ สีดำกระจาย อยู่ทั่วไป จุดเล็ก ๆ เหล่านี้คือ กลุ่มของสปอร์และสปอร์ของเชื้อราเชื้อราชนิดนี้สามารถทำให้เกิดโรคกับผลกาแฟได้ ทำให้ผลกาแฟ เน่ามีสีดำในระยะรุนแรงกาแฟจะมีสีดำ และเหี่ยวย่น ทำให้ผลร่วง ก่อนสุกในบางครั้งการป้องกันกำจัดo แปลงกาแฟควรมีร่มเงาเพียงพอ ต้นกาแฟที่ปลูกใหม่ ควรมีร่มเงาชั่วคราวเพียงพอ หลีกเลี่ยงความรุนแรงของโรคo การให้ปุ๋ยไนโตรเจนเพียงพอ จะช่วยลดความ รุนแรงของโรคในระยะกล้าในแปลงเพาะและแปลงปลูกได้วัชพืชและการป้องกันกำจัดวัชพืชที่พบทั่วไปในสวนกาแฟอาราบิก้า มีทั้งใบแคบและใบกว้าง ได้แก่ หญ้าตีนนก หญ้าปากควาย หญ้าตีนกา หญ้าเห็บ หญ้านกสีชมพู กระดุมใบเล็ก สาบแร้งสาบกา ลำพาสี ผักปราบ หญ้ายาง ลูกใต้ใบ ตีนตุ๊กแก เป็นต้นการกำจัดวัชพืชในสวนกาแฟสามารถกระทำได้หลายวิธี คือ1. การใช้แรงงานและการใช้เครื่องจักรกลตัดวัชพืชระดับผิวดินการใช้แรงงานคนเหมาะสำหรับสภาพพื้นทีที่ไม่สามารถ ใช้เครื่องจักรกลได้สะดวก โดยเฉพาะการกำจัดวัชพืชโดยวิธีการตัด หรือถากวัชพืชรอบบริเวณโคนต้นในสวนกาแฟที่ปลูกใหม่ เพราะระยะนี้ การใช้สารกำจัดวัชพืชจะเป็นอันตรายกับต้นกาแฟได้ง่าย และในฤดูแล้ง การกำจัดวัชพืชด้วย วิธีการดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องกระทำ เพื่อลดการแก่งแย่งน้ำในดิน ระหว่างวัชพืชและต้นกาแฟ และใช้วัชพืช ดังกล่าวคลุมโคนต้นกาแฟ เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ2. การปลูกพืชคลุมดินการปลูกพืชคลุมดินนอกจากจะช่วยควบคุมวัชพืช เจริญเติบโตแข่งกับต้นกาแฟแล้ว ยังเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในกับดิน ซึ่งจะมีผลทำให้ต้นกาแฟเจริญเติบโตและให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น3. การปลูกพืชแซมสามารถกระทำได้ในพื้นที่ปลูกกาแฟที่ค่อนข้างราบ หรือมีความลาดเอียงในทิศทางเดียวกัน พืชแซมที่นิยมปลูกในสวน กาแฟปลูกใหม่ เช่น พืชผัก ถั่วต่าง ๆ หรือไม้ตัดดอก แต่หลังจากต้นกาแฟ อายุมากขึ้น และให้ผลผลิตแล้วคงไม่สามารถกระทำได้ เพราะ ทรงพุ่มจะชิดกันมากขึ้น ไม่มีพื้นที่ว่างพอที่จะปลูกพืชแซมได4. การใช้สารกำจัดวัชพืชใช้ได้ทั้งในสวนกาแฟขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ่โดยใช้ในอัตราที่ปรากฏข้างล่าง ผสมน้ำสะอาด 60-80 ลิตร/ไร่ ใช้หัวพ่นรูปพัด พ่นให้ทั่วต้นวัชพืช แต่ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ ละอองสารปลิวไปสัมผัสใบและต้นกาแฟสารกำจัดวัชพืชอัตราที่ใช้(กรัมหรือซีซี/ไร่)กำหนดการใช้ชนิดวัชพืชที่ควบคุมได้ หมายเหตุพาราควอท(27.6%AS)300-800พ่นหลังวัชพืชงอกและอยู่ในระยะเจริญเติบโตสูงไม่เกิน 15 ซม.วัชพืชปีเดียว ใบแคบและใบกว้างหลีกเลี่ยง สารกำจัดวัชพืชสัมผัสใบและต้นกาแฟที่มีสีเขียวกลูโฟซิเนทแอมโมเนียม(15 %SL) 330- 750พ่นหลังวัชพืชงอกและอยู่ในระยะเจริญเติบโตและก่อนออกดอกวัชพืชปีเดียวใช้อัตราต่ำวัชพืชข้ามปีเช่นหญ้าคาใช้อัตราสูงระยะปลอดฝนประมาณ 4-6 ช.ม.ไกลโฟเลท(48%AS)330-750พ่นหลังวัชพืชงอกและอยู่ในระยะเจริญเติบโตและก่อนออกดอกวัชพืชปีเดียวใช้อัตราต่ำ วัชพืชข้ามปีเช่น หญ้าคาใช้อัตราสูงระยะปลอดฝนประมาณ 4-6 ช.ม.กลูโฟซิเนทแอมโมเนียม(15%S%L)+ไดยูรอน(80%WP)1,800+ 300พ่นหลังวัชพืชงอกและอยู่ในระยะเจริญเติบโตสูงไม่เกิน 15 ซม. วัชพืชปีเดียว ใบแคบและใบกว้างที่งอกจากเมล็ดไดยูรอนสามารถควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืชในดินได้ 1-2 เดือนการแปรรูปวิธีการแปรรูปมี 2 วิธีที่นิยมปฏิบัติกัน คือ1. การทำสารกาแฟโดยวิธีเปียก (Wet Method or Wash Method)เป็น วิธีการที่นิยมกันแพร่หลาย เพราะจะได้สารกาแฟที่มีคุณภาพ รสชาติดีกว่า ราคาสูงกว่าวิธีตากแห้ง (Dry method) โดยมีขั้นตอน ในการดำเนินการมี 5 ขั้นตอน ดังนี้1. การปอกเปลือก(Pulping)โดยการนำผลกาแฟสุกที่เก็บได้มาปอกเปลือกนอกทันที โดยเครื่องปอกเปลือก โดยใช้น้ำสะอาดขณะที่เครื่องทำงาน ไม่ควรเก็บ ผลกาแฟไว้นานหลังการเก็บเกี่ยวเพราะผลกาแฟเหล่านี้จะเกิดการหมัก (fermentation) ขึ้นมาจะทำให้คุณภาพของสารกาแฟ มีรสชาติเสียไป ดังนั้นหลังปอกเปลือกแล้ว จึงต้องนำไปขจัดเมือก2. การกำจัดเมือก (demucilaging)เมล็ดกาแฟที่ปอกเปลือกนอกออกแล้ว จะมีเมือก (mucilage) ห่อหุ้มเมล็ดอยู่ซึ่งจะต้องกำจัดออกไป ซึ่งมีวิธีการอยู่ 3 วิธีคือ2.1 การกำจัดเมือกโดยวิธีการหมักตามธรรมชาติ (Natural Fermentation)เป็นวิธีการที่ปฏิบัติดั้งเดิม โดยนำ เมล็ดกาแฟที่ปอกเปลือกออกแล้วมาแช่ในบ่อซีเมนต์ขนาด 3x1.5x1.2 เมตร มีรูระบายน้ำออกด้านล่าง ใส่เมล็ดกาแฟประมาณ 3/4 ของบ่อ แล้วใส่น้ำให้ท่วมสูงกว่ากาแฟ แล้วคลุมบ่อด้วยผ้าหรือพลาสติกปิดปาก บ่อซีเมนต์ ทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมง ในกรณีที่อุณหภูมิต่ำอากาศหนาวเย็น การหมักอาจจะใช้เวลา 48-72 ชั่วโมง) จากนั้นปล่อยน้ำทิ้งแล้วนำ เมล็ดมาล้างน้ำให้สะอาด นำเมล็ดมาขัดอีกครั้งในตระกล้าที่ตาถี่ ที่มีปาก ตะกร้ากว้าง ก้นไม่ลึกมาก เมื่อขัดแล้วเมล็ดกาแฟจะไม่ลื่นแล้วล้าง ด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งก่อนที่จะนำไปตาก2.2 การกำจัดเมือกโดยการใช้ด่าง (Treatment with alkali)วิธีนี้จะใช้เวลาประมาณไม่เกิน 1 ชั่วโมง (โรบัสต้า 1 ชั่วโมง 30 นาที) โดยการนำเอาโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ความเข้มข้น 10% โดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) 1 กิโลกรัม/น้ำ 10 ลิตร เทลงในบ่อซีเมนต์ที่ใช้หมักเมล็ดกาแฟ หลังจากเทเมล็ดกาแฟ ประมาณ 250-300 กิโลกรัม และเกลี่ยให้เสมอกัน จากนั้นใช้ไม้พายกวน เมล็ดกาแฟเพื่อให้สารละลายกระจายให้ทั่วทั้งบ่อประมาณ 30-60 นาที หลังจากทิ้งไว้ 20 นาที แล้วตรวจสอบว่าด่างย่อยเมือกออกหมด หรือหากยังออกไม่หมดให้กวนอีกจนครบ 30 นาที แล้วตรวจสอบอีกครั้ง เมื่อเมือกออกหมดต้องนำเมล็ดกาแฟไปล้างด้วยน้ำสะอาด 3-4 ครั้ง ก่อนนำไปผึ่งแดดให้แห้ง2.3 การกำจัดเมือกโดยใช้แรงเสียดทาน (Removal fo mucilage by friction)โดยใช้เครื่องปอกเปลือกชื่อ "Aguapulper" สามารถจะกระเทาะเปลือกนอก และกำจัดเมือก ของเมล็ดกาแฟในเวลาเดียวกัน แต่มีข้อเสียคือทำให้เมล็ดเกิดแผล ดังนั้นจึงควรคัดผลกาแฟให้มีขนาดใกล้เคียงกันมากที่สุด เพื่อลดความ เสียหายของเมล็ดให้น้อยลง 3.การตากหรือการทำแห้ง (Drying)หลังจากเมล็ดกาแฟผ่านการล้างทำความสะอาดแล้วนำเมล็ดกาแฟมาเทลงบนลานตากที่ทำความสะอาดแล้ว หรือเทลงบนตาข่ายพลาสติกบนแคร่ไม้ไผ่ เกลี่ยเมล็ดกาแฟกระจายสม่ำเสมอไม่ควรหนาเกิน 4 นิ้ว ควรที่จะเกลี่ยเมล็ดกาแฟวันละ 2 - 4 ครั้ง จะทำให้เมล็ดแห้งเร็วขึ้น และเวลากลางคืนควรกองเมล็ดเป็นกอง ๆ และใช้พลาสติกคลุมเพื่อป้องกันน้ำฝนหรือน้ำค้าง ใช้เวลาตากประมาณ 7 -10 วัน เมล็ดจะมีความชื้นประมาณ 13 % 4. การบรรจุ (Packing) เมล็ดกาแฟที่ได้ควรเก็บไว้ในรูปของกาแฟกะลา (Parchment Coffee) เพราะจะสามารถรักษาเนื้อกาแฟและป้องกันความชื้นกาแฟได้ดี ควรบรรจุ ในกระสอบป่านใหม่ และควรกลับด้านในของกระสอบป่านออกมา ผึ่งลมก่อนนำไปใช้ เก็บในโรงเก็บที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อับชื้น หรือมีกลิ่นเหม็น 5.การสีกาแฟกะลา (Hulling)กาแฟกะลาที่จะนำไปจำหน่ายควรจะสีเพื่อเอากะลาออกด้วยเครื่องสีกะลา จะได้สารกาแฟ (Green Coffee) ที่มีลักษณะผิวสีเขียวอมฟ้าการทำสารกาแฟโดยวิธีแห้ง (Dry method หรือ Natural method) เป็นวิธีการที่ดำเนินการโดยนำเอาผลกาแฟ (Coffee Cherry) ที่เก็บเกี่ยวมาจากต้นแล้วนำมาตากแดด ประมาณ 15 -20 วัน บนลานตากที่สะอาดและได้รับแสงแดดเต็มที่ เกลี่ยให้เสมอทั่วกันและ หมั่นเกลี่ยบ่อยครั้ง เมื่อผลแห้งจะมีเสียงของเปลือกกับเมล็ดกระทบกัน จึงนำมาเข้าเครื่องสีกาแฟ (Hulling) แล้วบรรจุในกระสอบที่สะอาด ข้อเสียของวิธีการนี้ คือ สารกาแฟที่ได้จะมีคุณภาพต่ำกว่าการทำ สารกาแฟโดยวิธีหมักเปียกการคัดเกรดและมาตรฐานการคัดเกรดสารกาแฟ (Green coffee) ที่ผ่านเครื่องสีเอากะลาออกแล้ว จึงนำมาคัดขนาดเพื่อแบ่งเกรด โดยใช้ตะแกรงร่อนขนาดรู 5.5 มิลลิเมตร เพื่อแยกสารกาแฟที่สมบูรณ์ จากสารกาแฟที่แตกหักรวม ถึงสิ่งเจือปน เมล็ดกาแฟที่มีสีดำ (black bean) ซึ่งเกิดจากเชื้อราบางประเภท ใช้เครื่องอีเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องที่ใช้แรงเหวี่ยง (Electronic Coffee Sorting Machine) เพื่อแยกสารกาแฟที่ดีออกจากสารกาแฟที่ไม ่สมบูรณ์ มาตรฐานการแบ่งเกรดของสารกาแฟอาราบิก้าของไทยเกรดของสารกาแฟอาราบิก้าเกรด A ขนาด ขนาดของเมล็ดตั้งแต่ 5.5 มิลลิเมตรขึ้นไป สี สีเขียวอมฟ้า เมล็ดแตกหัก มีเมล็ดไม่สมบูรณ์ หรือเมล็ดขนาดเล็กกว่า 5.5 มิลลิเมตร ไม่เกินร้อยละ 13 เมล็ดเสีย มีเมล็ดที่เป็นเชื้อราหรือมีสีผิดปกติ ไม่เกินร้อยละ 1.5 ความชื้น ไม่เกินร้อยละ 13 เกรด X - ลักษณะและคุณภาพเหมือนเกรด A ยกเว้นสีซึ่งจะมีสีแตกต่างไปจากสีเขียวอมฟ้าหรือมีสีน้ำตาลปนแดง เกรด Y - ลักษณะเมล็ดแตกหักหรือเมล็ดกลมเล็ก ๆ (Pea berries) ที่สามารถลอดผ่านตะแกรงขนาด์ 12.5 (5.5 มิลลิเมตร)- มีสีเขียวอมฟ้า สิ่งเจือปนไม่เกิน 0.5 %- ความชื้นไม่เกิน 13 % การเก็บรักษา (Storage)- ภาชนะบรรจุควรเก็บในกระสอบป่านใหม่ ปราศจากกลิ่น โดยบรรจุให้เหลือ พื้นที่ปากกระสอบบ้าง ไม่ใส่จนเต็มกระสอบ ควรมีแผ่นป้ายบอกเกรด สารกาแฟ วันที่บรรจุ แหล่งผลิต และน้ำหนัก ณ วันที่บรรจุ - โรงเก็บควรจะตั้งอยู่ในที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี อากาศไม่ร้อน ความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเก็บ 60% ไม่ห่างจากฝาผนังและหลังคาประมาณ 0.5-1.0 เมตร - ตั้งกระสอบที่บรรจุกาแฟบนพื้นที่ที่ทำด้วยไม้ยกสูงจากพื้น 15 ซ.ม.

วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

กาแฟใน ไทย

กาแฟเป็นพืชที่มีมาจากทางเขตร้อนชื้นในแอฟริกา จากนั้นกาแฟได้แพร่หลายไปยังประเทศเขตร้อนชื้นต่างๆ ทั่วโลกและในศตวรรษที่ 17และ 18 เป็นปีที่กาแฟได้เข้ามาแพร่หลายในประเทศ เขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอินเดียตะวันตกเป็นครั้งแรก อุตสาหกรรมกาแฟในประเทศไทยนั้นจะว่าไปแล้วยังถือว่าใหม่อยู่มาก ตามสถิติของทางราชการเนื้อที่แปลงเพาะปลูกกาแแฟทั้งหมด ภายในปี 1960 มีเพียงแค่ 19,000ไร่ และผลิตกาแฟได้เพียง 750 ต้น แต่ภายในปีเดียวกันนั้นเอง ประเทศไทยต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์พืชผลกาแฟเกือบจะ 6,000 ตัน เพื่อเป็นการปรับดุลย์การค้า รัฐบาลไทยได้ตั้งโครงการรณรงค์และสนับสนุนกาแฟโรบัสต้าที่ปลูกทางภาคใต้ซึ่งได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดีเมล็ดกาแฟอาราบิก้าสดโครงการนี้มีการผูกพันเกี่ยวเนื่องต่อไปในอนาคตเมื่อการปลูกพืชทดแทนการปลูกฝิ่น กลายเป็นโครงการของรัฐบาลอย่างเป็นทางการมนปี 1970 เมื่อได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศ์ศานุวงศ์ อีกทั้งยังมีองค์การสหประชาชาติ และองค์การทั้งภาคเอกชน และรัฐบาล อื่นๆอีกมากมายที่ให้การสนับสนุน ชาวไร่ชาวเขาที่อาศัยอยู่ในเขตสามเหลี่ยมทองคำและตามแนวเขตแดนพม่า และลาวจึงเิ่ริ่มหันมาสใจปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้ากันประเทศไทยเป็นชาติที่มีกาแฟเป็นสินค้าส่งออกอย่างเป็นทางการ ในปี 1976 เราส่งกาแฟโรบัสต้ากว่า 850ตันออกขายในตลาดโลก ในช่วงปี 1980 ราคาใตลาดโลกมีความแข็งแกร่งจึงช่วยให้การส่งออกมีการเติบโตไปในทิศทางที่ดี ในปีต่อมาและถึงจุดสูงสุดในช่วงปี 1991-1992 ที่อัตรา 60,000ตัน ความล้มเหลวของ "สัญญากาแฟสากล" ในเดือนกรกฎาคม ปี 1989 และภาวะราคากาแฟโลกตกต่ำจากผลผลิตที่ล้นตลาด มีผลกระทบที่รุนแรงต่อชาวไร่กาแฟอย่างรุนแรงรัฐบาลไทยต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างกระทันหัน เมื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์การคุกคามของการมีอัตราการเสนอขายที่มากกว่าความต้องการซื้อจนเกินไป และเริ่มลดกำลังการผลิตภายใต้แผนห้าปี(1992-1997) ให้ชาวไร่กาแฟเปลี่ยนไปปลูกพืชผลอย่างอื่น เนื่องจากพยายามที่จะลดเนื้อที่ในการเพาะปลูกกาแฟ จากที่เกือบจะถึง 500,000 ไร่

มนุษย์รู้จักดื่มกาแฟตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 แถบทวีปอัฟริกา มีเรื่องเล่าว่าประมาณ ค.ศ.1400 คนเลี้ยงแพะในเอธิโอเปียชื่อ คาลดี สังเกตเห็นแพะที่เขาเลี้ยงกระโดดโลดเต้นอย่างสนุกสนาน เมื่อกินผลไม้สีแดงๆ คาลดีลองกินดูก็รู้สึกสดชื่น เขาจึงนำไปถวายพระ พระได้นำไปเผาไฟเพื่อหวังลดอำนาจของผลไม้นี้ลง แต่กลับมีกลิ่นหอมน่าพิสมัย จึงนำมาทุบและใส่น้ำ เมื่อลองดื่มน้ำนั้นก็รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า ต่อมาพวกพ่อค้าจึงนำออกไปเผยแพร่สำหรับยูโรปนั้นเริ่มรู้จักกาแฟเมื่อศตวรรษที่ 17 โดยนักแสวงโชคและผู้ที่ทำให้กาแฟได้รับความนิยมในยุโรปมากยิ่งขึ้นก็คือ สุไลมาน อัลการาชทูตประจำราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศษหรือราวปี ค.ศ.1715 จากนั้นกาแฟก็มีราคาสูงขึ้น เพราะขุนนางฝรั่งเศษติดกาแฟ ชาวยุโรปได้รู้จักดื่มกาแฟอย่างจริงจังเมื่อศตวรรษที่ 19 แต่อยู่ในกลุ่มนักเขียนและผู้ที่ฐานะดีเท่านั้น ชาวฝรั่งเศษได้นำไปทดลองปลูกในตอนใต้ของประเทศแต่ไม่ได้ผล ชาวฮอลแลนด์นำไปทดลองปลูกที่เกาะลังกาและหมู่เกาะอินเดียตะวันออกได้สำเร็จ ฝรั่งเศษจึงทำตามบ้าง ทั้งสองประเทศนี้หวงพันธุ์กาแฟมาก เมื่อฝรั่งเศษกับฮอลแลนด์มีปัญหา เรื่องพรมแดนในกานา กษัตริย์บราซิลได้ส่งทูตไปไกล่เกลี่ยและแอบนำกาแฟมาขยายพันธุ์ในบราซิลจนกลายเป็นแหล่งผลิตกาแฟที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาจนถึงทุกวันนี้

พันธุ์กาแฟกาแฟ เป็นพืชที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "คอฟเฟีย(Coffea)" มีสายพันธุ์มากกว่า 6,000 สายพันธุ์ แต่มีเพียง 2 สายพันธุ์เท่านั้นที่ได้รับความนิยมและนำมาขยายพัธุ์เพื่อการค้า คือ1. พันธุ์อาราบิก้า (Arabica)กาแฟพันธุ์นี้นิยมปลูกกันมากที่สุดในโลก โดยมีผลผลิตถึง 90% ของปริมาณกาแฟที่ผลิตได้ทั้งหมดทั่วโลก มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมแถบบริเวณประเทศเอธิโอเปียเมล็ดมีคุณภาพสูงทั้งกลิ่นและรสชาติ 2. พันธุ์โรบัสต้า (Robusta)เป็นกาแฟพันธุ์ไม่ค่อยดีนัก นิยมเอามาทำกาแฟสำเร็จรูป หรือนำไปผสมกับพันธุ์อื่นๆ มีผลผลิตค่อนข้างสูงกว่าพันธุ์อาราบิก้าเล็กน้อย มีปริมาณการผลิตประมาณ 1 ใน 4 ของปริมาณกาแฟที่ผลิตได้ทั้งหมดทั่วโลก

การตั้งชื่อกาแฟ
นอกจากชื่อประเทศและถิ่นที่ปลูกจะถูกนำมาเป็นชื่อเรียกกาแฟแล้ว มีสาเหตุอีกหลายประการที่ถูกนำมาใช้ในการตั้งชื่อกาแฟ หรือจำแนกชนิดกาแฟ1. กาแฟปราศจากคาเฟอีน การสกัดสารคาเฟอีนก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้ผลิตนำมาตั้งเป็นยี่ห้อกาแฟ เพื่อตอบสนองลูกค้าที่ชอบดื่มกาแฟแต่ต้องการหลีกเลี่ยงสารคาเฟอีน เช่น กาแฟดีคาเฟอีนนาโต อินเทนโซ2. กาแฟออแกนิค กาแฟที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลง ปัจจุบันกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากของตลาดที่ผู้บริโภคมีความห่วงใยในสุขภาพและสิ่งแวดล้อม3. กาแฟที่ปลูกบนเขาสูง เป็นที่ยอมรับกันว่า กาแฟที่ปลูกบนเขาที่มีความสูงมากกว่า 4,000 ฟุตขึ้นไป จะมีรสชาติเฉพาะตัวและเป็นกาแฟที่มีคุณภาพดี เช่น กาแฟยี่ห้อบลูเมาน์เท็นและ คีรีมานจาโร4. กาแฟตามชื่อไร่เกิดจากเจ้าของไร่ค้นพบคุณภาพพิเศษของกาแฟที่ผลิตได้ในไร่ของเขาซึ่งอาจจะเกิดขึ้นโดยการคัดเลือกพันธุ์บริเวณเพาะปลูกการคั่วการผสมกลิ่นระหว่างคั่วซึ่งแต่ละไร่ก็จะเก็บรักษาความลับของตัวเองกาแฟทีมีคุณสมบัติพิเศษนี้จะมีราคาแพงและมีจำหน่ายเฉพาะที่เท่านั้น

ผลดีและผลเสียของกาแฟที่มีต่อสุขภาพผลดีผลที่มีต่อถุงน้ำดีจากการที่ทำการวิจัยโดยอาสาสมัครชาย 45,000คน ดื่มกาแฟวันละสองแก้วต่อวัน จะสามารถลดการเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วในถุงน้ำดีได้ถึง 40% และถ้าดื่มวันละ สี่แก้วสามารถลดได้ถึง 45% เลยทีเดียว โดยกาแฟที่ดื่มเข้าไปนั้นจะเข้าไปป้องกันการตกตะกอนของคลอเรสเตอรอล ลดการดูดซึมของเหลวเพิ่ม การไหลของน้ำดีที่กรวยไต ซึ่งทั้งหมดเป็นสาเหตุของการยับยั้งการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีกาแฟกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่จากการศึกษาพบว่าผู้ที่ดิื่มกาแฟวันละสี่แก้ว จะสามารถลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึง 24% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ดื่มกาแฟเลย เพราะกาแฟจะไปกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ผลิตสารที่มีผลยับยั้งการก่อตัวของเนื้อเยื่อที่กลายพันธุ์จากเซลล์ธรรมดากลายไปเป็นเซลล์มะเร็์ง และในกาแฟยังสามารถยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ในลำไส้อันเป็นต้นเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งอีกด้วยอาการปวดศีรษะสารคาเฟอีนมีส่วนสำคัญที่สามรถบรรเทาอาการปวดต่างๆ ได้ แต่สารคาเฟอีนในกาแฟเพียงอย่างเดียวไม่สามารถที่จะยับยั้งอาการปวดหัวได้ แต่ถ้าคุณรับประทานพร้อมกับยาแก้ปวด ก็จะมีผลช่วยบรรเทาอาการปวดได้อย่างรวดเร็วขึ้นผลเสียเมื่อคาเฟอีนเข้าสู่ร่างกายจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วในกระเพาะอาหารและลำไส้ แล้วกระจายไปตามอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง หัวใจ ไต ตับ ปอด กล้ามเนื้อต่างๆ และระบบประสาทส่วนกลาง ร่างกายต้องใช้เวลากว่า 48 ชั่วโมงในการสลายคาเฟอีนถ้าร่างกายไดรับคาเฟอีนจำนวนสูงประมาณ 3,000-10,000 มิลลิกรัมจะทำให้ตายในระยะเวลาอันสั้นได้ถ้าเราดื่มกาแฟประมาณ 1/2-2 1/2 ถ้วย จะกระตุ้นประสาทให้ตื่น ลดความเหนื่อยล้าได้ประมาณครึ่งวัน หรือดื่มกาแฟขนาด3-7 ถ้วย ทำให้มือสั่น กระวนกระวาย โกรธง่ายและปวดศีรษะ มีผลต่อหัวใจและเส้นเลือด คือทำให้กล้ามเนื้อของหลอดเลือดคลายตัวหรือบีบรัดมากขึ้นเป็นบางแห่ง กระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจ อาจเพิ่มหรือลดอัตราการเต้นของหัวใจ อันตรายแก่ผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจที่ดื่มกาแฟมากๆ จะทำให้ กล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นหย่อมๆคาเฟอีนยังมีผลทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง กรดไขมันอิสระสูง จึงไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือมีไขมันในเลือดสูง ฤทธิ์ของคาเฟอีนเพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะจึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคไตไม่ทำงาน
จะเห็นได้ว่ากาแฟนั้นมีทั้งผลดีและผลเสียต่อร่างกาย ดังนั้นผู้ที่ไม่ได้อยู่ในข่ายต้องห้ามก็อาจดื่มเป็นประจำทุกวันได้ แต่ต้องจำกัดปริมาณ ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม

แหล่งผลิตกาแฟที่มีชื่อเสียงของโลกโคลัมเบียปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้า ผ่านกรรมวิธีในการล้างโดยวิธีแบบเปียก ปลูกในบริเวณเทือกเขาแอนดิส ผลผลิตออกตลอดปีเพราะความสูงเป็นกาแฟที่มีคุณภาพ เนื่องจากปลูกบริเวณดินภูเขาไฟ อุณหภูมิเหมาะสมกับพันธุ์ที่ปลูก กาแฟที่มีชื่อ ได้แก่ เมดิลลิน(Medillin),โบโกต้า(Bogota) และที่มีชื่อที่สุดคือ ซูรีโม(Suremo) โคลัมเบียได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ผลิตกาแฟเป็นอันดับ 2 ของโลกบราซิลปลูกกาแฟอาราบิก้าพันธุ์ธรรมดา ผ่านการล้างด้วยวิธีแบบแห้ง เพาะปลูกบริเวณเชิงเขา มีต้นกาแฟมากกว่า 4 พันล้านต้น ผลผลิตเป็นอันดับหนึ่งของโลกและส่งออกขายทั่วโลก เนื่องจากผลผลิตมากเม็กซิโกมีการปลูกกาแฟแบบ "ออแกนิค" คือโดยวิธีธรรมชาติและเริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้น กาแฟที่มีชื่อของเม็กซิโก คือ เวราครูซ(Veracruz)จาไมก้ากาแฟ"บลูเมาน์เท็น"เป็นกาแฟที่มีชื่อที่สุดของจาไมก้าและของโลก เป็นกาแฟพันธุ์อาราบิก้า ผ่านกระบวนการล้างโดยวิธีแบบเปียกประเทศไทยปลูกกาแฟทั้งอาราบิก้าและโรบัสต้า อาราบิก้าปลูกบริเวณ ภาคเหนือ ส่วนโรบัสต้าปลูกทางภาคใต้ เนื้อที่ในการปลูกมีประมาณ 4.1-4.5แสนไร่ ผลผลิตส่วนใหญ่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกามากที่สุด รองลงมาคือ มาเลเซีย, เกาหลี, เยอรมันนี, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์, อังกฤษ และอีกหลายประเทศใน ยุโรปและเอเชีย
สูตรกาแฟที่แนะนำ
กาแฟเอสเปรสโซ (Espresso)ส่วนผสม1. กาแฟคั่วบดแบบละเอียดที่สุด 6-7 กรัม2. เวลาที่น้ำร้อนไหลผ่านเครื่อง 8-12 วินาที 3. ปริมาณกาแฟ 1-1.5 ออนซ์4. ขนาดถ้วย 2-3 ออนซ์วิธีชง ใส่กาแฟบดลงไปในภาชนะ และเมื่อกาแฟหลออกมาตามปริมาณที่ต้องการ ให้ยกออกหรือให้เครื่องหยุดทำงานทันที ปริมาณกาแฟที่ได้จะอยู่ที่1/2ถ้วย หรือประมาณ 1-1.5 ออนซ์ ไม่ให้เกินกว่านี้ และมีฟองสีทองประมาณ 1 ช้อนชาลอยอยู่ข้างบน เมื่อชงเสร็จจะต้องเสิร์ฟทันทีกาแฟคาปูชิโน (Cappuccino)ส่วนผสม1. กาแฟบดละเอียด2. นมสด 100%3. น้ำตาลหรือน้ำเชื่อม4. ผงช็อกโกแลตหรือผงอบเชย5. ขนาดถ้วย 4-6 ออนซ์วิธีชง ชงกาแฟ 2/3ถ้วย เทนมสดใส่ถ้วยปนะมาณ 3 ออนซ์ นำไปอุ่นให้ร้อนพอสมควรประมาณ 60'c นำเครื่องทำฟองตีนมให้เกิดฟองใช้เวลาประมาณ 8-10 วินาที แลใช้ช้อนตักฟองนมโรยหน้ากาแฟให้ถึงขอบแก้ว และโรยด้วยผงช็อกโกแลตหรือผงอบเชย ยกเสิร์ฟพร้อมน้ำตาลกาแฟม็อคคา (Coffee Mocha)ส่วนผสม1. กาแฟดำร้อน 2/3 ถ้วย2. นมสดร้อนผสมช็อกโกแลต 1/3 ถ้วย3. ผงช็อกโกแลตพอประมาณ4. ช็อกโกแลตไซรป หรือน้ำเชื่อมรสช็อกโกแลต5. ขนาดถ้วย 4-6 ออนซ์วิธีชง ผสมน้ำเชื่อมในกาแฟร้อน อุ่นนมสดให้ร้อนพอประมาณ แล้วใช้เครื่องตีนมให้ขึ้นฟอง เทนมร้อนลงไปในถ้วยกาแฟใช้ช้อนกันไว้อย่าให้ฟองนม ปนลงไปในขณะเท ปิดหน้าด้วยฟองนม และโรยหน้าด้วยผงช็อกโกแลต
กาแฟไอริช (Irish Coffee)ส่วนผสม1. ไอริชวิสกี้ 1-2 ออนซ์2. น้ำตาล 1-2 ช้อนชา3. เอสเปรสโซ 1.5-2 ออนซ์4. วิปครีม 0.5 ช้อนโต๊ะ5. ขนาดถ้วย 4-6 ออนซ์วิธีชง อุ่นถ้วยให้ร้อนด้วยน้ำร้อน เอาไอริชวิสกี้และน้ำตาลเทลงไปในถ้วย เทกาแฟเอสเปรสโซลงไป และคนให้น้ำตาลละลายเข้ากัน ตักครีมโรยหน้ายกเสิร์ฟ
กาแฟโบราณส่วนผสม1. กาแฟชนิดกากพอประมาณ2. นมข้น 2 ช้อนโต๊ะ3. นมสดจืด 2 ช้อนโต๊ะ4. น้ำครึ่งแก้ววิธีชง นำกาแฟชนิดกาก ใส่น้ำร้อนกรองเอาแต่น้ำ เทนมข้นและนมสดใส่น้ำครึ่งแก้ว