วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

ประวัตกาแฟ จากถิ่นไปสู่ทวีป1

กาแฟสู่ยุโรป พ่อค้าชาวเวนิสเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ทำการค้ากาแฟกับอาหรับในปี ค . ศ .1615 ซื้อกาแฟจากเมืองมอคค่า (Mocha) นำไปขายในยุโรปเป็นจุดเริ่มต้นการค้าที่สร้างความร่ำรวยให้กับพ่อค้าอาหรับผู้ส่งกาแฟ ต่อมาพ่อค้าชาวดัตช์ นำกาแฟไปเผยแพร่ในอัมสเตอร์ดัมท์ ชาวดัตช์ ได้พยายามศึกษาเก็บข้อมูลต่างๆ ของกาแฟทั้งด้านพฤษศาสตร์ และการค้า ในปี ค . ศ .1616 ต้นกาแฟต้นแรกถูกนำไปยุโรปแล้วขยายพันธุ์ที่สวนพฤษศาสตร์ในเมืองอัมสเตอร์ดัมและนำไปปลูกในเขตประเทศแถบหมู่เกาะอินเดียตะวันออก และชวาในปี ค . ศ .1663 ร้านกาแฟร้านแรกเปิดในอัมสเตอร์ดัมท์ ทำให้ประชาชนทุกชนชั้นมีโอกาสลิ้มรสกาแฟ ร้านกาแฟจะตกแต่งอย่างประณีตสวยงามในบรรยากาศที่สะดวกสบาย
ในอิตาลีปกติชาวอิตาลีนิยมดื่มน้ำผลไม้ และเครื่องดื่มจากพืชต่างๆ ในปี ค . ศ .1625 มีการขายกาแฟในกรุงโรม โดยชาวอิตาลีเห็นว่ากาแฟเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง ค . ศ .1645 ร้านขายกาแฟร้านแรกเกิดขึ้นในเวนิส จนในปี ค . ศ .1690 มีร้านกาแฟมากมายในเวนิส ร้านกาแฟเป็นที่ชุมนุมของชนชั้นสูง และในปี ค . ศ .1720 ร้านกาแฟที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเวนิสคือ ร้านฟลอเรนท์ (Florian) เปิดให้บริการในฝรั่งเศส ปี ค . ศ .1644 มีการส่งเมล็ดกาแฟจากเมืองอเล็กแซนเดรีย สู่เมือง มาแซร์ ค . ศ .1671 ร้านกาแฟร้านแรกจึงเปิดขึ้นที่นี่ ในปี ค . ศ .1672 นายปาสคาล ชาวอามาเนีย เปิดขายกาแฟเป็นครั้งแรกที่ปารีสในงาน Saint Germain fair และได้เปิดร้านขึ้นหลังจากนั้น ในปี 1689 Procopio dei Coltelli ชาวอิตาลีได้เปิดร้านกาแฟที่มีชื่อเสียงขึ้นในกรุงปารีส มีบุคคลที่มีชื่อเสียงทั้งศิลปิน นักการเมือง ฯลฯ นิยมไปดื่มกาแฟที่ร้านนี้กันมาก จนในปี ค . ศ .1690 มีร้านกาแฟในปารีสมากกว่า 300 ร้าน ในสมัยพระเจ้าหลุยที่ 14 กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากจนอาจเรียกได้ว่าเป็นเครื่องดื่มของพระราชา มีคำโฆษณาขายกาแฟว่า “ กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่คั่วและผสมในหม้อทองคำ โดยพระหัตถของพระราชา ”
ในปี ค . ศ .1714 เจ้าเมืองอัมสเตอร์ดัมส์ ได้ส่งต้นกาแฟมาถวายเป็นของขวัญแด่พระเจ้าหลุยที่ 14 และได้นำมาปลูกในสวนพฤษศาสตร์ กรุงปารีส เนื่องจากกาแฟไม่ทนทานต่อความหนาวเย็น จึงมีการสร้างเรือนกระจกเพื่อปลูกกาแฟนับเป็นเรือนกระจกพืชเรือนแรกของโลก ฝรั่งเศสได้พยายามนำกาแฟไปปลูกในดินแดนภายใต้ปกครองเช่นกัน โดยมีการนำการแฟจากเยเมนไปปลูกในเกาะเบอร์บอน (Bourbon) ( ปัจจุบันคือเกาะลารียูเนียน ) เกาะภูเขาไฟเล็กๆ ในมหาสมุทรอินเดีย 800 กิโลเมตรจากเกาะมาดากัสการ์ ตั้งแต่ปี ค . ศ .1708 แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนในปี ค . ศ .1715-1718 มีการนำกาแฟมาปลูกอีกและประสบผลสำเร็จ จนในปี ค . ศ .1817 กาแฟให้ผลผลิตเป็นจำนวน ถึง 1,000 ตัน กาแฟจากเกาะเบอร์บอน เป็นพันธุ์อาราบิก้าที่สำคัญคือชื่อพันธุ์เบอร์บอน (Bourbon) เริ่มต้นจากเกาะแห่งนี้ และได้นำรุ่นลูกหลานไปปลูกในที่อื่นๆ เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก
ในอังกฤษ จากบันทึกของ John Evelyn ค . ศ .1637 กล่าวถึงการดื่มกาแฟของสมาชิก Balliol College ในออกฟอร์ด (Oxford) กาแฟเป็นที่นิยมในหมู่อาจารย์และนักศึกษา เพราะกาแฟช่วยกระตุ้น ให้สามารถอ่านหนังสือในเวลากลางคืนได้นานขึ้น ในปี ค . ศ .1650 จาคอป (Jacob) ชาวเลบานอนตั้งร้านกาแฟร้านแรกขึ้นชื่อ Angle Inn ที่ออกฟอร์ดต่อมามีร้านกาแฟเกิดขึ้นในลอนดอนที่ St Michael's Alley โดยชาวกรีกชื่อ ปาสควาลโรเซ่ (Pasqua Rosee) ร้านกาแฟเป็นสถานที่สำคัญของบุคคลทั่วไป เป็นที่พบปะของนักธุรกิจข้อตกลง การเซ็นต์สัญญา การแลกเปลี่ยนข่าวสารร้านกาแฟเป็นจุดกำเนิดสถาบันหลายอย่างเช่นตลาดหลักทรัยพ์ บริษัทประกัน Baltic และ Lloyds ร้านกาแฟเป็นที่พักผ่อนของบรรดานักเขียน กวี ทนายความ นักปรัชญา นักการเมือง ร้านกาแฟ บางแห่งเก็บค่าธรรมเนียมเข้าใช้บริการอัตราคนละ 1 เพนนี เพื่อให้สามารถถกเถียงให้ความคิดเห็นในด้านการเมืองและวรรณกรรมจนเป็นที่รู้จักในนามมหาวิทยาลัยเพนนี่ภายในร้านมีกล่องทองเหลืองสลักคำว่า To Insure Promptness เพื่อความทันใจ ภายหลังถูกย่อให้สั้นเหลืออักษร ตัวแรกคือทิป (Tip) ในปี ค . ศ .1675 พระเจ้าชาร์ลที่ 2 ประกาศปิดร้านกาแฟ เนื่องจาก ผู้หญิงอังกฤษต่อต้านการดื่มกาแฟ เพราะผู้ชายใช้เวลาและเงินทองหมดไปที่ร้านกาแฟนอกบ้าน หลังจากนั้นไม่นานพวกพ่อค้ารายใหญ่ รายย่อยได้ถวายฎีกาให้ยกเลิกการปิดร้านกาแฟ ทำให้ร้านกาแฟเปิดขึ้นใหม่อีก ในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 บรรยากาศร้านกาแฟมีการเปลี่ยนไป ร้านกาแฟมีการเสริฟเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ลมากขึ้น กลุ่มลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลง นักธุรกิจนิยมดำเนินธุรกิจของตนในสถานที่ทำงานที่เป็นหลักแหล่ง ที่สะดวกปลอดภัยกว่า โรงงานและสถานที่ทำงานจัดให้มีห้องสมุด ทำให้หนังสือพิมพ์และหนังสือต่างๆ สามารถหาได้ง่ายขึ้น ร้านกาแฟจึงเสื่อมความนิยมในเวลาต่อมา
กาแฟสู่อเมริกา ราว ค . ศ .1655 ชาวดัตช์นำกาแฟเข้ามาจากประเทศเนเธอร์แลนด์เข้ามาในอเมริกา แก่ชุมชนชาดัตช์ในนิวอัมสเตอร์ดัม ( นิวยอร์ค ) ช่วงแรกถือว่า เป็นผลิตภัณฑ์ราคาสูง ในปี ค . ศ .1688 มีหลักฐานว่ามีการดื่มกาแฟผสมน้ำตาลหรือน้ำผึ้งและซินเนมอลในนิวอัมสเตอร์ดัมส์ ในปี ค . ศ .1670 โดโรธี โจนส์ (Dorothy Jones) ได้รับอนุญาตขายกาแฟในบอสตัน และมีการเปิดร้านกาแฟขึ้นหลายแห่งในบอสตัน นิวยอร์ค ฯลฯ ร้านกาแฟที่มีชื่อเสียงจะเป็นที่พบปะของบุคคลชั้นสูง นักการเมือง เจ้าหน้าที่อังกฤษ แต่เมื่อเกิดเหตุการ Boston Tea Party จากประท้วงการเก็บภาษี๋ชาต่อรัฐบาลอังกฤษในปี ค . ศ .1767 นับเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามประกาศอิสระภาพของสหรัฐอเมริกาและต่อต้านสินค้าอังกฤษ ชาวอเมริกันปฏิเสธการดื่มชาหันมาดื่มกาแฟแทน ทำให้ชาวอเมริกันกลายเป็นนักดื่มกาแฟ แม้ในสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายเหนือ ฝ่ายใต้ ทหารฝ่ายเหนือต้องมีกาแฟเป็นสเบียงคนละ 8 ปอนด์ โดยมีพ่อค้าชาวฝรั่งเศสและดัทซ์นำเข้ากาแฟ่จากอาณานิคมของตน เช่น ประเทศหมู่เกาะในทะเลคาริเาบียนและคิวบา จนในปัจจุบันสหรัฐอเมริกายังเป็น ผู้นำเข้ากาแฟรายใหญ่ของโลก
กาแฟสู่ลาตินอเมริกาใต้ ในช่วงต้น ค . ศ .1718 มีการนำต้นกาแฟต้นแรกจากเนเธอร์แลนด์ไปปลูกในประเทศสุรินัม ดินแดนในปกครองของดัตช์ เป็นการเริ่มการปลูกกาแฟครั้งแรกทวีปอเมริกา ประมาณปี ค . ศ .1723 นายทหารเรือชาวฝรั่งเศส ชื่อ กาเบรียล แมธธิว เดอคิว (Garbriel Methieu de Clieu) นำต้นกาแฟจากฝรั่งเศสไปยังเกาะมาตินิค (Martinique) ประเทศกิอานากาของฝรั่งเศส การเดินทางเป็นไปด้วยความยากลำบากทั้งพายุ โจรสลัด จนถึงต้องสละนำจืดส่วนตัวรดต้นกาแฟ จนมาถึงจุดหมายปลายทาง ต้นกาแฟจึงให้ผลผลิต ในเวลาต่อมาชาวสเปนได้นำกาแฟเข้าสู่อาณานิคมในหมู่เกาะอินเดียตะวันตก ค . ศ .1748 มีการนำเมล็ดกาแฟจากสาธารณรัฐโดมิกันไปปลูกที่คิวบา ต่อมาหมอสอนศาสนาชาวสเปนนำเมล็ดกาแฟจากคิวบาไปปลูกที่ประเทศกัวเตมาลาและเปอร์เตอริโก ในปี ค . ศ .1779 นำเข้าไปปลูกในประเทศคอสตาริก้า ค . ศ .1783 เริ่มปลูกกาแฟในประเทศเวเนซูเอล่า ที่หมู่บ้านในหุบเขาคอสตาริก้า ค . ศ .1783 เริ่มปลูกกาแฟในประเทศเวเนซูเอล่า ที่หมู่บ้านในหุบเขาคาราคัส (Caracas) ปี ค . ศ .1790 มีการปลูกกาแฟในเม็กซิโก ค . ศ .1825 มีการปลูกกาแฟในฮาวาย
โคลัมเบีย ในปลายศตวรรษที่ 18 มีการเมล็ดกาแฟจากดินแดนปกครองฝรั่งเศส มาปลูกครั้งแรกที่เมือง Cucuta ใกล้ดินแดนประเทศเวเนซูเวล่า พื้นที่ปลูกกาแฟของโคลัมเบียอยู่บนที่สูงตั้งแต่ 800-1900 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ดินเป็นดินภูเขาไฟ อุดมสมบูรณ์ ทำให้กาแฟโคลัมเบียเป็นกาแฟที่มีคุณภาพสูงแห่งหนึ่งของโลก
บราซิล จากดินแดนประเทศกิอานาของดัทช์และฝรั่งเศศ มีการพยายามนำพันธุ์กาแฟมาปลูกในบราซิล แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากทั้งดัทช์และฝรั่งเศสดูแลอย่างเข้มงวด ผู้นำเมล็ดและต้นกาแฟออกไปอาจถูกประหารชีวิตใน ค . ศ .1718 ฟรานซิสโก เดอ เมลโล (Francisco de Melo Palheta) นายทหารชาวบราซิลถูกส่งไปเจรจาเรื่องปัญหาเขตชายแดนกับดัทช์และฝรั่งเศส เขาสามารถเข้าใกล้ชิดและสนิทสนมกับนายกผู้ปกครองกิอานา ฝรั่งเศส เขาได้มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับภรรยาของผู้ปกครอง เมื่อการเจรจาสิ้นสุดลง มีการจัดเลี้ยงภรรยาผู้ปกครองได้มอบช่อดอกไม้ที่มีต้นกาแฟจำนวน 5 ต้น และผลกาแฟจำนวน 30 เมล็ดบรรจุในถุงเล็กๆ ซ่อนอยู่ในช่อดอกไม้ เมื่อกลับมายังบราซิล เขาลาออกจากการเป็นทหารและปลูกกาแฟทำสวนอยู่ริมแม่น้ำ Ubituba จนในปี ค . ศ .1727 กาแฟเริ่มให้ผลผลิต และในปี ค . ศ .1733 กาแฟจำนวน 50 ถุงถูกส่งไปยังโปรตุเกสในระยะแรกกาแฟไม่ค่อยได้รับความสนใจมากเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมน้ำตาลจากอ้อย จนกระทั่งนโปเลียน สนับสนุนการทำน้ำตาลจากหัวบีท ทำให้ความต้องการกาแฟในยุโรปและอเมริกา บราซิลมีพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกกาแฟและยังมีทาสใช้แรงงาน ทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกเป็นสวนขนาดใหญ่ (estate) ขึ้นอย่างมากมายรวดเร็ว ต่อมาเมื่อมีการเลิกทาส เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน ทำให้ผลผลิตลดลงอย่างมาก รัฐบาลบราซิล จึงได้มีการฟื้นฟูโดยสนับสนุนให้ชาวยุโรป เช่น โปรตุเกส เยอรมัน เข้ามาตั้งถิ่นฐานดำเนินการทำสวนกาแฟ โดยมีรัฐบาลช่วยดูแล มีการเปิดพื้นที่ปลูกใหม่ โดยปลูกเป็นสวนขนาดใหญ่อยู่แถบรัฐเซาเปาโลและขยายออกไปทางตะวันตกและทางใต้ของประเทศจนปัจจุบันบราซิลเป็นผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่ที่สุดของโลก
อินเดีย กาแฟเป็นพืชหวงห้ามของชาวอาหรับ ประมาณ ค . ศ .1600 นายบาบา บูดาน (Baba Budan) นักแสวงบุญชาวอินเดียลักลอบนำเมล็ดหรือผลกาแฟจำนวน 7 เมล็ด ซุกซ่อนในเสื้อคลุมจากเมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบียมาปลูกแถบเนินเขาใกล้เมือง Chikmagalur เมืองไมซอร์ (Mysore) ต่อมากาแฟได้แพร่กระจายไปส่วนอื่นๆ ของอินเดีย จนกระทั่งในปี ค . ศ .1823 อังกฤษมีการพัฒนาปลูกกาแฟแบบสวนขนาดใหญ่ (estate) ใกล้ๆ กัลกัตตา ปี ค . ศ .1830 มีการสร้างสวนกาแฟที่เป็นระบบสมบูรณ์แห่งแรกของนาแคนนอน ที่เมือง Chilmuglur ในช่วงเวลาต่อมาสวนกาแฟขนาดใหญ่มีการขยายไปจนถึงทางใต้ของอินเดียแถบไมซอร์ คูนอร์ มัทราส ประมาณ ปี ค . ศ .1900 มีการนำเมล็ดกาแฟพันธุ์โรบัสต้าจากอินโดนีเซียมาปลูกในอินเดีย ปัจจุบันอินเดียมีทั้งผลผลิตกาแฟพันธุ์โรบัสต้าและอาราบิก้า
อินโดนีเซีย ในปี ค . ศ .1696 นิโคลัส วิทเสน ผู้จัดการบริษัทดัชท์อินเดียตะวันออก ได้นำต้นกาแฟจากมาลาบาร์ (Malabar) รัฐเคลาล่า ประเทศอินเดีย ไปปลูกที่เกาะชวา เริ่มปลูกที่ Kedawoeng estate ใกล้ๆ เมืองปัตตาเวีย ( จาร์การ์ต้า ) ในปี ค . ศ .1699 สวนกาแฟประสบความเสียหายเนื่องจากแผ่นดินไหวและน้ำท่วมในปีเดียวกันนี้มีการนำต้นการแฟอาราบิก้าจากมาลาบาร์ของอินเดียมาปลูกอีกครั้ง กาแฟอาราบิก้าจึงได้รับการส่งเสริมพัฒนาขึ้น จนในปี ค . ศ .1711 มีรายงานว่าได้มีการเก็บเกี่ยวกาแฟนำไปขายในตลาดประมูลสินค้าที่เนเธอร์แลนด์ ปี ค . ศ .1880-1899 มีการระบาดของโรคราสนิม ทำให้ไม่สามารถ ที่จะปลูกกาแฟอาราบิก้าให้ได้ผล จึงได้มีการเปลี่ยนพันธุ์กาแฟมาเป็นโรบัสต้า และลิเบอริก้า ในปี ค . ศ .1900 ได้มีการส่งต้นกาแฟโรบัสต้า 150 ต้นจากประเทศเบลเยี่ยมไปเกาะชวา ต่อมากาแฟโรบัสต้ารับการส่งเสริมและขยายการผลิตในอินโดนีเซียจนประสบความสำเร็จ สามารถผลิตและส่งออกไปขายในตลาดโลกได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น